(เพจ: โรงเรียนกีตาร์ไทย)


(เพจ: Guitarthai.com)
  _________________________ศิลปะแห่งการซ้อมที่ดี : กฎ 10 ข้อ_______________________  
 
วันนี้ว่างๆ นั่งเปิดหน้า Lesson เจอกระทู้ตัวเอง ตกใจนิดหน่อย ^^ เพราะไม่ค่อยได้โพสอะไรเท่าไร 10 ข้อเองอ่านแปปเดียวแต่ น่าจะมีประโยชน์กับ พี่น้องกีต้าร์ไทยไม่มากก็น้อย ^^


เสียงปรบมืออันกึกก้องทั่วโรงแสดงคอนเสิร์ต ผู้ชมต่างโห่ร้องชื่นชมนักดนตรีผู้นี้ที่มีความสามารถถ่ายทอดบทเพลงที่มี ความยากออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ฟังดูแล้วเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างง่ายไปหมด รอยยิ้มประทับอยู่บนใบหน้าของนักดนตรีผู้นั้น เขาบรรลุถึงเป้าหมายของเขาแล้ว การถ่ายทอดบทเพลงของคีตกวีออกมาได้อย่างหมดจด และชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือยิ่งกว่านั้น เขาชนะใจคนดู......

มีใครทราบบ้างว่า เบื้องหลังความสำเร็จของบทเพลงเพียงไม่กี่นาทีในครั้งนั้น นักดนตรีผู้นี้ต้องเผชิญอะไรมาก่อนหน้าบ้าง ถ้าจะถามว่า อะไรทำให้การแสดงดนตรีประสบความสำเร็จ เป็นที่ประทับใจคนฟัง หลายๆ ท่านคงตอบว่า ต้องมีการ "ซ้อมมาเป็นอย่างดี"

คำว่า "ซ้อมมาเป็นอย่างดี" นั้นเป็นเช่นไร เป็นการยากที่จะจำกัดความหมายนี้ให้ละเอียด การซ้อมนั้นคือการเตรียมตัว การเตรียมตัวนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นศิลปะชั้นสูงอย่างหนึ่ง ผมเองซึ่งเป็นนักดนตรี ผ่านการศึกษาดนตรีขั้นสูงมาพอสมควร เจอศิลปินระดับโลกมาก็มาก เรียนมาก็เยอะ เคยผ่านการซ้อมติดต่อกันโดยแทบจะไม่หยุดพักถึง 8 ชั่วโมงต่อวันในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทุกวันเป็นเวลาถึง 2 ปี เพราะคิดว่านี่คือวิธีเดียวที่จะให้การเล่นของเราพัฒนาให้ได้เร็วที่สุด แต่แล้วเมื่อถึงเวลาแสดงจริงๆ นั้น ผมกลับไม่สามารถทำได้ดีอย่างที่หวังไว้เลย มีพัฒนาการน้อยมาก ทุกอย่างล้มเหลวหมด ครั้งนั้นผม แทบจะเลิกเล่นดนตรีไปเลย คิดว่าอุตส่าห์ทุ่มเททุกลมหายใจเข้าออกให้กับการซ้อมแล้ว ผมก็ยังทำไม่ได้ดี ทำไมเพื่อนคนอื่นถึงได้เล่นดีกว่า ทั้งๆ ที่เขาไม่เห็นซ้อมมากเท่าเราเลย เขายังมีเวลาไปเดินเที่ยวห้าง ไปดูหนัง และทำอย่างอื่น หรือว่าเราจะไม่มีพรสวรรค์อะไรเลย คงไม่มีทางอื่นอีกแล้ว หลังจากผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้ ผมก็มานั่งคิดว่า ระยะเวลาซ้อมอย่างบ้าคลั่งเช่นนั้น คงไม่เป็นผลดีตามหลักเดินสายกลางของพระพุทธเจ้าเป็นแน่ ฉะนั้นผมจึงเริ่มค้นคว้าวิธีใหม่ๆ ค้นหาหลักการซ้อมให้ใช้เวลาน้อยที่สุดแต่ได้ผลมากที่สุด

อยู่มาวันหนึ่ง ผมได้ไปสะดุดตากับหนังสือในห้องสมุดที่โรงเรียน เป็นหนังสือที่หามานาน มีชื่อว่า "Art of Practicing" ใช่เลย....ผมตอบกับตัวเอง... ผมเริ่มอ่านอย่างละเอียด........ และเกิดนึกสมเพชภาพตัวเองในอดีต...นี่เราซ้อมมาผิดๆ เป็นเวลาถึง 2 ปีเลยเหรอนี่...... ผมลองทำตาม... ปรากฏว่าได้ผลดีมากกว่าก่อน โดยใช้เวลาน้อยลง ...... แต่สิ่งที่ยังคงยากสำหรับผมคือ.... การปฏิบัติตาม..... เพราะผมยังเคยชินกับการซ้อมแบบเก่าๆ ....ผมเตือนตัวเองเสมอๆ ....... การซ้อมที่ดีต้องมีสติครับ....ห้ามใจร้อนเด็ดขาด..... คือว่าบังเอิญ ผมยังเป็นวัยรุ่นอยู่.... ยังใจร้อน เป็นเรื่องธรรมด้าธรรมดา...แฮ่ แฮ่

เกริ่นมาเยอะแล้ว ผมขอสรุปหลักการซ้อมไว้เป็นหัวข้อ 10 หัวข้อ ไว้ดังนี้ครับ


   สมาชิกแบบพิเศษ   ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:16:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 1  
 
เสียงปรบมืออันกึกก้องทั่วโรงแสดงคอนเสิร์ต ผู้ชมต่างโห่ร้องชื่นชมนักดนตรีผู้นี้ที่มีความสามารถถ่ายทอดบทเพลงที่มี ความยากออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ฟังดูแล้วเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างง่ายไปหมด รอยยิ้มประทับอยู่บนใบหน้าของนักดนตรีผู้นั้น เขาบรรลุถึงเป้าหมายของเขาแล้ว การถ่ายทอดบทเพลงของคีตกวีออกมาได้อย่างหมดจด และชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือยิ่งกว่านั้น เขาชนะใจคนดู......

มีใครทราบบ้างว่า เบื้องหลังความสำเร็จของบทเพลงเพียงไม่กี่นาทีในครั้งนั้น นักดนตรีผู้นี้ต้องเผชิญอะไรมาก่อนหน้าบ้าง ถ้าจะถามว่า อะไรทำให้การแสดงดนตรีประสบความสำเร็จ เป็นที่ประทับใจคนฟัง หลายๆ ท่านคงตอบว่า ต้องมีการ "ซ้อมมาเป็นอย่างดี"

คำว่า "ซ้อมมาเป็นอย่างดี" นั้นเป็นเช่นไร เป็นการยากที่จะจำกัดความหมายนี้ให้ละเอียด การซ้อมนั้นคือการเตรียมตัว การเตรียมตัวนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นศิลปะชั้นสูงอย่างหนึ่ง ผมเองซึ่งเป็นนักดนตรี ผ่านการศึกษาดนตรีขั้นสูงมาพอสมควร เจอศิลปินระดับโลกมาก็มาก เรียนมาก็เยอะ เคยผ่านการซ้อมติดต่อกันโดยแทบจะไม่หยุดพักถึง 8 ชั่วโมงต่อวันในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทุกวันเป็นเวลาถึง 2 ปี เพราะคิดว่านี่คือวิธีเดียวที่จะให้การเล่นของเราพัฒนาให้ได้เร็วที่สุด แต่แล้วเมื่อถึงเวลาแสดงจริงๆ นั้น ผมกลับไม่สามารถทำได้ดีอย่างที่หวังไว้เลย มีพัฒนาการน้อยมาก ทุกอย่างล้มเหลวหมด ครั้งนั้นผม แทบจะเลิกเล่นดนตรีไปเลย คิดว่าอุตส่าห์ทุ่มเททุกลมหายใจเข้าออกให้กับการซ้อมแล้ว ผมก็ยังทำไม่ได้ดี ทำไมเพื่อนคนอื่นถึงได้เล่นดีกว่า ทั้งๆ ที่เขาไม่เห็นซ้อมมากเท่าเราเลย เขายังมีเวลาไปเดินเที่ยวห้าง ไปดูหนัง และทำอย่างอื่น หรือว่าเราจะไม่มีพรสวรรค์อะไรเลย คงไม่มีทางอื่นอีกแล้ว หลังจากผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้ ผมก็มานั่งคิดว่า ระยะเวลาซ้อมอย่างบ้าคลั่งเช่นนั้น คงไม่เป็นผลดีตามหลักเดินสายกลางของพระพุทธเจ้าเป็นแน่ ฉะนั้นผมจึงเริ่มค้นคว้าวิธีใหม่ๆ ค้นหาหลักการซ้อมให้ใช้เวลาน้อยที่สุดแต่ได้ผลมากที่สุด

อยู่มาวันหนึ่ง ผมได้ไปสะดุดตากับหนังสือในห้องสมุดที่โรงเรียน เป็นหนังสือที่หามานาน มีชื่อว่า "Art of Practicing" ใช่เลย....ผมตอบกับตัวเอง... ผมเริ่มอ่านอย่างละเอียด........ และเกิดนึกสมเพชภาพตัวเองในอดีต...นี่เราซ้อมมาผิดๆ เป็นเวลาถึง 2 ปีเลยเหรอนี่...... ผมลองทำตาม... ปรากฏว่าได้ผลดีมากกว่าก่อน โดยใช้เวลาน้อยลง ...... แต่สิ่งที่ยังคงยากสำหรับผมคือ.... การปฏิบัติตาม..... เพราะผมยังเคยชินกับการซ้อมแบบเก่าๆ ....ผมเตือนตัวเองเสมอๆ ....... การซ้อมที่ดีต้องมีสติครับ....ห้ามใจร้อนเด็ดขาด..... คือว่าบังเอิญ ผมยังเป็นวัยรุ่นอยู่.... ยังใจร้อน เป็นเรื่องธรรมด้าธรรมดา...แฮ่ แฮ่

เกริ่นมาเยอะแล้ว ผมขอสรุปหลักการซ้อมไว้เป็นหัวข้อ 10 หัวข้อ ไว้ดังนี้ครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:16:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 2  
 
เอ้ยยย ผิดๆ ^^

1. Always Know Exactly What You Need to Practice - and WHY
(ต้องรู้ตัวเสมอว่าเรากำลังจะซ้อมเพื่อแก้ไขในสิ่งใดและรู้ว่าทำไมต้องแก้)

ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการซ้อมมาหลายชั่วโมงแต่ไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นเลย ดังนั้น เราต้องหาปัญหาในการเล่นให้เจอ และแยกแยะเหตุผลของความยากนั้นๆ และเริ่มแก้ทีละอย่าง การซ้อมที่ดีนั้น เราจะต้องเข้าใจเรื่องพื้นฐานของเครื่องดนตรีที่เราเล่นอยู่โดยหาหนทางหลายๆ ทางมาดัดแปลงให้เข้ากับสรีระร่างกายของเราซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ให้คิดก่อนลงมือซ้อมว่าเราจะทำอะไรในการซ้อม เพื่อแก้ปัญหาอะไร ทำให้เป็นนิสัยตั้งแต่บัดนี้ คิดก่อนซ้อมสัก 3 นาที ดีกว่าซ้อมไป 3 ชั่วโมงโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย สักแต่ว่าเล่นตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะเสียเวลามาก และจะทำให้เราเคยชินกับการเล่นที่ยังผิดๆ อยู่ และเมื่อเราเคยชินเสียแล้ว....แก้ยากนะครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:17:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 3  
 
2. Organize Practice Time to Suit Circumstances
(วางแผนเวลาการซ้อมให้เหมาะกับสถานการณ์)

วางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับจำนวนเวลาที่เราจะซ้อมในแต่ละเรื่อง อันนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่เรามีอยู่ให้ในการซ้อม ควรวางแผนเป็นวัน เป็นอาทิตย์หรือวางในระยะยาว

การซ้อมแบ่งได้เป็น 5 ข้อใหญ่ๆ
1. เรียนเพลงหรือเทคนิคใหม่ๆ ที่เรายังทำไม่ได้หรือได้ไม่ดี
2. เปลี่ยนหรือแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง เช่น Vibrato, Staccato เป็นต้น
3. ซ้อมเพลงที่เรามีเป็น repertoire หรือซ้อมเทคนิคต่างๆ ที่เราทำได้ดีแล้ว
4. ซ้อมเพื่อเตรียมแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขัน หรือ audition
5. ซ้อมเพื่อทบทวนเพลงเก่าๆ โดยหาการตีความบทเพลงในแนวที่แตกต่างออกไป


การซ้อมในแต่ละครั้งอาจจะซ้อมผสมกันในแต่ละครั้ง แต่ควรเน้นการซ้อมในข้อหนึ่งข้อใดเป็นหลัก เรื่องการวางแผนเวลาซ้อมนั้น เราต้องดูว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์แบบใด
1. ยังเป็นนักเรียนในโรงเรียน วิชาเรียนเยอะมาก
2. เป็นนักเรียนในโรงเรียน แต่ยังต้องทำงานพิเศษหรือเรียนพิเศษ
3. เป็นมือสมัครเล่นซึ่งมีเวลาซ้อมน้อย
4. เป็นมืออาชีพแต่มีธุระยุ่ง
5. เป็นคนที่มีเวลาว่างมาก (ปิดเทอมหรือโชคดีที่ว่าง)

ไม่ว่าจะกรณีใด เราควรจะซ้อมมากน้อยเพียงใด? โดยรวมแล้ว เราแค่เพียงต้องการที่จะเรียนเพลงให้ดีที่สุดที่เราสามารถจะ make music โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาทางเทคนิคการเล่น ถ้าเราทำได้ถึงจุดนี้ เราก็สามารถจะแก้ปัญหาด้านการตื่นเวทีไปได้เยอะแล้ว โปรดจำไว้ว่า ซ้อมอย่างมีสมาธิเพียง 2 ชั่วโมง ดีกว่าซ้อม 7-8 ชั่วโมงอย่างเลื่อนลอย

เราต้องรู้ตัวเราเองว่าระยะเวลานานเท่าไรที่เราสามารถซ้อมได้อย่างมีสมาธิ เราต้องทราบจุดเด่นและจุดด้อยในการเล่นของเรา และที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ที่จะฟังการเล่นของเราและต้องไม่ปล่อยสิ่งที่ผิด พลาดออกไปโดยไม่มีการแก้ไข นั่นคือ เราต้องเป็นครูคอยสอนสั่งเคี่ยวเข็ญตัวเองเสมอ

คนบางคนสามารถเรียน รู้และจดจำได้เร็วกว่าอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เรียนรู้ได้เร็วนั้นจะสามารถได้ประโยชน์จากการ ซ้อมดีกว่าคนที่เรียนรู้ช้า และไม่แน่นะ....คนที่ค่อยๆ ซ้อมไปช้าๆ อาจจะเข้าใจได้ดีกว่าและสามารถแก้ไขเทคนิคการเล่นให้ดีขึ้นและมั่นคงอยู่กับตัวได้นานกว่าก็เป็นได้

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:18:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 4  
 
3. Repetition is the Mother of Knowledge Only if the Perfected Passage is Repeated More Often than the Faulty One
(การซ้อมแบบซ้ำๆ ที่เก่าหลายๆ ครั้ง จะได้ผลก็ต่อเมื่อ เราซ้อมช่วงนั้นแบบดี perfect ให้บ่อยกว่าที่ผิดพลาด)

ถ้าเราเล่นช่วงที่ยากของเพลงอย่างถูกเป็นครั้งแรกหลังจากผิดพลาดมานับสิบครั้ง อย่าเพิ่งหลงดีใจว่าเราแก้ไขปัญหาการเล่นได้แล้ว! จริงๆ แล้ว เราเพิ่งจะสอนร่างกายของเราให้เคยชินกับการเล่นที่ผิดพลาดมานับเป็นสิบๆ ครั้งและเพิ่งจะพลาดมาเล่นถูกเพียงครั้งเดียวหรือสองสามครั้งเท่านั้น และแนวโน้มที่เราจะเล่นอันที่เคยผิดพลาดในการแสดงนั้นจะมีมากกว่าอันที่ถูก เพราะร่างกายของเราเกิดความเคยชินกับแบบที่ผิดๆ ไปเสียแล้ว ฉะนั้น เมื่อเราเริ่มหัดเพลงใหม่ๆ ให้แน่ใจว่าเราเล่นอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก และซ้อมเช่นนั้นอย่างระมัดระวัง ควรซ้อมอย่างช้าๆ ก่อนเพื่อให้เราฟังและทราบว่าสิ่งที่เราเล่นนั้นถูกต้อง ทั้งด้านโน้ต จังหวะ เทคนิคและการเคลื่อนไหวของร่างกาย หลังจากนั้นจึงซ้อมแบบซ้ำๆ หลายๆ ครั้งจนกระทั่งมันเกิดขึ้นเองจนเป็นธรรมชาติ โดยที่เราไม่ต้องบังคับมันอีกเลย จำไว้ว่า "ร่างกายของเราเปรียบได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าเราใส่ข้อมูลผิดๆ เข้าไปครั้งแรก โอกาสที่คอมพิวเตอร์แสดงผลอย่างผิดๆ จะมีสูง และเราจะแก้ไขยาก"


   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:21:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 5  
 
4. Practice Fast as Well as Slowly
(ซ้อมเร็วเช่นเดียวกับซ้อมช้า)

การซ้อมช้าๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้หูและสมองได้ใส่ข้อมูลอย่างถูกต้องและสามารถควบคุมและสั่งสอนกล้าม เนื้อทุกส่วนสำหรับการเล่นได้ โดยปกติแล้วการซ้อมช้าๆ นั้น จะทำให้เพลงขาดจิตวิญาณของเพลงนั้นๆ ไป เราอาจจะต้องลองเล่นเพลงนี้ด้วยความเร็วจริงก่อน (แม้กระทั่งเราไม่เคยเล่นเพลงนี้มาก่อนเลย) เพื่อให้เราทราบ idea และปัญหาที่เราจะพบในเพลงอย่างคราวๆ ก่อน หลังจากนั้น เราจึงมาหา Fingering และเทคนิคต่างๆ ต่อไป

มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า เวลาเริ่มหัดเพลงใหม่ ให้ซ้อมช้า 4 ครั้ง แล้วจึงตามด้วยซ้อมเร็ว 1 ครั้งเสมอ และเมื่อเราคล่องแล้วให้ซ้อมเร็ว 4 ช้า 1 Metronome เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการซ้อม เราต้องควบคุมความช้าเร็วให้ได้ดีตลอดเวลา Metronome สอนให้เราฟังและควบคุมได้ดีอีกด้วย มีนักเรียนหลายคนสามารถเล่นเร็วได้ดี แต่พอให้เล่นช้าๆ ก็ไม่สามารถควบคุมเทคนิคต่างๆ ได้ นั่นแสดงว่าการเล่นของเรายังไม่ปลอดภัย จำไว้ว่า "ถ้าเราเล่นช้าไม่ได้ดีแล้ว เราจะไม่สามารถเล่นเร็วได้อย่างปลอดภัยไปทุกครั้ง"


   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:21:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 6  
 
5. Give Equal Attention to Both Arms
(ให้ความสำคัญเท่ากันทั้งมือซ้ายมือขวา)

เครื่องดนตรีหลายชนิดต้องใช้มือทั้งสองเล่น แต่มือใดมือหนึ่งมักจะมีแนวโน้มความสำคัญกว่าอีกมือเสมอ นักเปียโนอาจให้ความสำคัญกับมือที่เล่นทำนองมากกว่ามือที่เล่นเสียงประสาน หรือผู้เล่นเครื่องเป่า อาจให้ความสำคัญกับนิ้วกดมากกว่าเรื่องการใช้ลม สำหรับผู้เล่นเครื่องสายนั้น มักให้ความสำคัญแก่มือซ้ายมากกว่ามือขวา เพราะมือซ้ายนั้นเราสามารถได้ยินความเพี้ยนหรือไม่อย่างชัดเจน แต่จริงๆ แล้ว แก่นของเสียง, Articulation, และ expressive อารมณ์ของเพลง ความดังเบา หัวใจของเพลงอยู่ที่มือขวาทั้งสิ้น ผู้เล่นเครื่องสายควรให้ความสำคัญในการซ้อมของมือขวาด้วย ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องความเพี้ยนของมือซ้ายได้แล้ว เราควรจะหันมาสนใจเรื่องการใช้คันชัก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสังเกตข้อผิดพลาดได้ยากมาก

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:22:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 7  
 
6. Separate the Problems and Solve Them One by One
(แบ่งแยกปัญหาให้ออกและแก้ไขทีละอย่าง)

แต่ละช่วงของเพลงมักจะเกิดปัญหาในการเล่นต่างกันและมากน้อยหลากหลายกันออกไป การที่จะพยายามแก้ไขทุกอย่างไปพร้อมๆ กันนั้นจะทำให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหา ได้เลยสักอย่างเดียว แถมว่าจะเข้ากฎข้อ 3 ด้วย นั่นคือเราซ้อมย้ำๆ แต่แบบที่ผิดๆ ....ใจเย็นๆ ครับ....... แบ่งปัญหาที่พบให้ออกว่าเป็นด้านอะไร rhythm? Intonation? Articulation? Basic ทั่วๆ ไป, เทคนิคเฉพาะของมือซ้ายหรือมือขวา? ปัญหาเรื่องการประสานงานกันระหว่างมือทั้งสอง? ความคล่องตัวของนิ้ว มือ แขน? การใช้ลม? หรืออื่นๆ หรือทั้งหมด? จากนั้นค่อยๆ แก้ไขไปทีละอย่าง แตกมันออกมาอย่างๆ ช้าๆ เพื่อสอนกล้ามเนื้อของเรา เทคนิคบางอย่างนั้น เราอาจต้องไปหา studies, etudes ต่างๆ มาฝึกเพิ่มเติมเพื่อช่วยแก้ปัญหาในบทเพลงของเรา การแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต่างๆ ครูของท่านอาจให้คำแนะนำได้

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:23:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 8  
 
7. Practice Difficult Passages in Context
(นำช่วงที่ยากของเพลงออกมาซ้อมเฉพาะจุด)

นี่เป็นเรื่องต่อจากข้อที่แล้ว หลังจากแบ่งแยกปัญหาออกมาได้และแก้ปัญหาทีละอย่างได้หมดแล้ว เราก็สามารถรวมการเล่นได้ออกมาเป็นแบบที่เพลงเขียนไว้ โดยซ้อมช้าๆ ก่อน ฟังว่าปัญหาต่างๆ ที่เราแก้ไปยังอยู่อีกหรือไม่ ถ้ายังพบอยู่ ให้กลับไปแก้เฉพาะจุดนั้น


   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:23:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 9  
 
8. Practice Performing: Don't Only Practice Practicing
(ให้ซ้อมการแสดงคล้ายการแสดงจริงด้วย)

การซ้อมในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ โดยมีเพียงแค่เราอยู่คนเดียวนั้น ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของการเล่นดนตรี แม้ว่าเราสามารถทำให้มันสนุกจนไม่อยากละมือออกจากการซ้อม ถ้าเราเรียน concerto, sonata ได้เป็นสิบๆ บท มันก็ไม่มีประโยชน์และไม่ถือว่าได้เรียนอย่างสมบูรณ์ ถ้าเราไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะนำออกแสดงได้

การแสดงต่อหน้าผู้ คนจำนวนมาก ทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักนั้น เป็นสิ่งที่ยากต่อความรู้สึกและไม่สามารถเกิดการควบคุมความรู้สึกนี้ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ต้องอาศัยการฝึกฝนและความเคยชิน สิ่งต่างๆ อาจมีผลกระทบต่อการเล่นของเราในการแสดง ความตื่นเต้น ตื่นเวที อุณหภูมิ สภาพอาการ สภาพร่างกายจิตใจ สภาพทางเสียง และตัวแปรอื่นๆ อาจทำให้เราตื่นเต้นมากจนเกินไป หลังจากการฝึกซ้อมจนถึงระดับหนึ่งแล้ว เราควรมีการฝึกซ้อมการแสดงด้วย เราอาจจินตนาการว่ามีผู้ฟังหรือถ้ามีโอกาส ให้ไปลองบรรเลงในสถานที่จริงที่เราต้องแสดง โดยห้ามหยุดบรรเลงตั้งแต่ต้นจนจบเพลง ดูว่า เรายังมีปัญหาการบรรเลงหลงเหลืออยู่หรือไม่ ถ้ามี นั่นคือโอกาสที่เราจะทราบและนำกลับไปแก้ไขให้ทันก่อนการแสดงจริง หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น ให้ลองเชิญเพื่อนฝูง คนรู้จักมานั่งฟังการซ้อมการบรรเลงแบบไม่มีหยุดของเราด้วย จะเป็นการดียิ่งขึ้น เราอาจจะถามความคิดเห็นของผู้ฟังด้วยก็เป็นได้

ชุดที่ใส่ในวันบรรเลงก็มีผลต่อการเล่นเช่นกัน ชุดสูทที่คับหรือหลวมเกินไป รองเท้าส้นสูง กระโปรงที่แคบหรือลากยาว เครื่องประดับหรือกระดุมที่สามารถเกะกะหรือกระแทกเครื่องดนตรีของเรา เหล่านี้ ควรจะมีการจัดเตรียมและแก้ไขมาก่อนล่วงหน้า

วิชา Concert Practice ที่ผมเคยเรียนมานั้น มีประโยชน์มากในการฝึกตรงนี้ โดยที่เราเล่นให้เพื่อนดูและเพื่อนก็เล่นให้เราดู โดยมีการเดินเข้าออก ทำการโค้งและปรบมือเช่นการแสดงจริงๆ หลังจากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่เราควรมีการเริ่มในบ้านเรา

เรื่องความตื่นเต้นในการแสดงนั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องนี้ คงต้องกล่าวกันยาวมาก ความตื่นเต้นเป็นเรื่องของจิตใจโดยแท้ และเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราไม่มีความตื่นเต้นบนเวทีเลยแม้แต่น้อย นั่นแสดงว่าเรามีความผิดปกติหรือไม่ใส่ใจในการแสดงเท่าที่ควร ความตื่นเต้นจะเกิดขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น รู้มากขึ้น มีสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น สนใจความรู้สึกของคนอื่น จนทำให้เราขาดสมาธิในการเล่น สิ่งเหล่านี้ฝึกฝนกันได้ และต้องอาศัยความมีประสบการณ์เจนเวที

หัวใจที่เต้นถี่เร็วและแรง อาการเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายเบาบ่อย เหงื่อออกที่มือ มือสั่นไม่มีแรง ปวดมวนท้อง อาการต่างๆ เหล่านี้คืออาการตื่นเวทีที่พบได้ประจำในหลายๆ คน ถ้าท่านเป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับการแสดงและต้องการให้การแสดงออกมาดี ไม่มีทางหรอกครับที่เราจะขจัดความตื่นเต้นในการแสดงออกได้หมด ฉะนั้น จงเตรียมใจไว้ได้เลยว่า ไม่ว่าเราจะซ้อมมาดีเยี่ยมขนาดไหนก็ตาม ท่านจะตื่นเต้นในการแสดงอย่างแน่นอน แต่ท่านต้องรู้จักที่จะควบคุมมัน อยู่กับมัน เปลี่ยนมันให้เป็นพลังทางบวก เรื่องทั้งหมดนี้อยู่ที่สมาธิและใจครับ

ครั้งแรกๆ ในการแสดงหรือการ audition ท่านอาจจะตื่นเต้นจนควบคุมไม่ได้ แต่อย่าเพิ่งท้อใจ นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นพบปัญหา สิ่งที่ช่วยเราได้บนเวทีนั่นคือการมีสมาธิกับสิ่งที่ท่านทำอยู่และ Enjoy สิ่งที่ท่านแสดง!

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:24:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 10  
 
9. Practice Also Without Instrument
(ซ้อมโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีด้วย)

เพียงแค่เราฝึกซ้อมทางด้านร่างกายกับเครื่องดนตรีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่ๆ เราควรจะซ้อมด้านจิตใจความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวกับบทเพลงที่เราจะแสดงด้วย จริงๆ แล้วสมองของเราเป็นตัวควบคุมจัดการกับกิริยาทุกอย่างในการเล่น เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่ดีได้ ต้องมีโปรแกรมที่ดี

ให้ลองมองดูโน้ตเพลงที่ท่านจะเล่น แล้วจินตนาการเสียงตาม บางครั้งเราอาจพบหนทางตีความบทเพลงแบบใหม่ๆ ที่อาจดีกว่าแบบเก่าที่เราเคยชิน ก็เป็นได้ บางครั้งท่านอาจหลับตาแล้วจินตนาการว่าเรากำลังเล่นบทเพลงนั้นๆ จริงๆ การฝึกเช่นนี้ ไม่เพียงช่วยด้านเทคนิค แต่ช่วยเรื่องการจดจำบทเพลงได้ด้วย ถ้าเราสามารถเล่นเพลงด้วยจินตนาการได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่อาศัยเครื่องดนตรีเลย โดยมี tempo ที่ดีและไม่มีการหลงลืมหรือชะงัก (ตัดสินตัวเองอย่างเป็นธรรม อย่าเข้าข้างตัวเองด้วยนะครับ) เราอาจพูดได้ว่าเราสามารถจำบทเพลงได้แล้ว แต่ถ้ายังหลงลืมบางจุด ให้เรากลับไปแก้ไขจุดนั้นโดยเร็ว

ช่วงฤดูหนาวในสมัยที่ผมเรียนดนตรีในอังกฤษนั้น เป็นช่วงที่ทรมานเรื่องความหนาวมาก เครื่องทำความร้อนก็ไม่เพียงพอ ผมเคยซ้อมหน้าเครื่องทำความร้อนเป็นเวลานานจนเครื่องดนตรีที่เป็นไม้นั้นแตก เพราะอากาศแห้งมากๆ จากเครื่องทำความร้อน ผมต้องส่งเครื่องซ่อมและต้องใช้เวลาซ่อมหลายวัน ไม่สามารถหาเครื่องใหม่ได้ทัน และหลังจากซ่อมเสร็จเพียงวันเดียว ผมก็ถึงเวลาเรียนกับครูอีกครั้งหนึ่งแล้ว ไม่มีทางที่จะได้ซ้อมกับเครื่องก่อนเข้าเรียนเลย ช่วงรอเครื่องซ่อมอยู่นั้น ผมจึงจำเป็นต้องนอนใต้ผ้าห่มหนาๆ ได้แต่นั่งมองโน้ตและซ้อมด้วยใจเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาหลายวัน.....ได้ผล ครับ..... หลังจากได้เครื่องกลับมา ผมไม่ต้องซ้อมกับมันมากเลย รู้ว่าควรจะเล่นอย่างไร.... นี่คงเป็นผลแห่งการซ้อมด้วยใจในเวลานั้น

การซ้อมด้วยใจนี้อาจทำได้เมื่อสภาพร่างกายของเราเหนื่อยหรือป่วย หรืออาจทำได้ในขณะที่เราต้องเดินทางหรือก่อนการแสดงคอนเสิร์ต ข้อสำคัญ เราต้องได้ยินในหัว (Inner hearing) กับสิ่งที่เราจะซ้อมด้วยใจ

มีเรื่องเล่ากันอยู่ว่า Enesco อาจารย์ Violin ของ Menuhin ขณะเดินทางไปแสดงนั้น Enesco หยิบดินสอออกมาแล้วขยับนิ้วคล้ายเล่นไวโอลินไปกับดินสอ ซักพักหนึ่ง เขาหยุด แล้วหันมาพูดว่า "อุ๊ป!….โน้ตตัวนั้นเพี้ยน!"

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:25:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 11  
 
10. Do Not Neglect the Easy Sections: They Tend to Take Revenge on You!
(อย่าละเลยช่วงที่ง่ายๆ มันอาจกลับมาก่อความยุ่งยากให้เราได้)

เพลงที่เราจะเล่นนั้น อาจมีหลายช่วงที่มีความง่าย ไม่มีปัญหาแม้กระทั่งลองเล่นในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว คนบางคนก็ชอบเล่นแต่ช่วงง่ายๆ นี้บ่อยๆ โดยไม่ค่อยอยากไปเล่นในช่วงยากๆ เพราะเสียงดีสู้ช่วงง่ายๆ นี้ไม่ได้ แต่อีกพวกหนึ่ง ซ้อมแต่ช่วงยากๆ จนแทบไม่สนใจช่วงง่ายอีกเลย

จริงๆ แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับช่วงง่ายๆ เหล่านี้มากนัก แต่อย่างน้อยก็ให้ผ่านตาไว้บ้าง อย่าให้เมื่อถึงเวลานำออกแสดงแล้วช่วงง่ายๆ เหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยเหมือนเพิ่งเคยเห็น การไม่คุ้นเคยนี้จะทำให้เราลังเลว่า "เล่นถูกหรือเปล่า" "ใช้นิ้วอะไรดี ตรงนี้" อย่าให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นนะครับ มันจะทำลายสมาธิเรา

นั่นคือ 10 หัวข้อหลักๆ ในการทำการซ้อมให้ได้ผลและเป็นศิลปะที่นักดนตรีทุกคนควรยึดไว้ในใจเสมอ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:26:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 12  
 
ขอแถมอีกนิดนึง ผมอยากแบ่งขั้นตอนวัดในความก้าวหน้าในการซ้อมของเราอย่างง่ายๆ ไว้ดังนี้
1. Building up time เป็นช่วงแรกที่เราเริ่มเรียนเพลงโดยเฉพาะเพลงใหม่ที่เราไม่รู้จักโน้ตเลย Building ในที่นี้ หมายถึง การหัดโน้ต จังหวะ แก้ไขปัญหาเรื่องเทคนิค หาเทคนิคมาเสริมในเพลงนั้น ตรวจสอบ intonation ต่างๆ ฯลฯ อันเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไปของดนตรี ทั้งเรื่องเสียง จังหวะ เราต้องหัดช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มเร็วขึ้น สลับกันไป โดยใช้กฎข้อ 1 ถึง 7
2. Interpretation Time เป็นช่วงตีความบทเพลง หลังจากผ่าน Building Up time จนเราสามารถเล่นโน้ตได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่มีปัญหาทางเทคนิคแล้ว ให้เราคิดถึงเรื่อง Dynamic ความดังเบา vibrato, articulation ความสั้นยาวของโน้ตต่างๆ เพื่อเพิ่มสีสันให้กับบทเพลง สิ่งนี้จะสร้างให้เพลงของเรามี Musical มากขึ้น ข้อนี้ทำได้โดยใช้หลักข้อ 9 ครับ
3. Performance Time หลังจากทุกอย่างเริ่มลงตัวแล้ว ควรจะลองนำออกแสดงดูว่า ยังมีปัญหาอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำออกแสดงที่โรงคอนเสิร์ตที่มีผู้ชมจำนวนมาก บางทีท่านอาจขอร้องให้เพื่อนซักคนสองคนนั่งดูการแสดงของท่าน โดยท่านต้องทำทุกอย่างเหมือนการแสดงจริง เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับใจแล้วครับ กลับไปอ่านกฏข้อ 8 ได้

นั่นเป็นการวัดความก้าวหน้าอย่างคร่าวๆ นะครับ ซึ่งบางทีท่านอาจต้องย้อนขั้นตอนกลับไปกลับมาและห้ามละทิ้งขั้นตอนที่ 1 เป็นอันขาด แม้ว่าท่านอาจอยู่ในขั้นตอนที่สามารถนำเพลงออกแสดงได้แล้ว แต่ท่านยังต้องซ้อมแบบ Building Up อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการควบคุมทางเทคนิคที่มีความยากนั้น มีความแม่นยำและสม่ำเสมอ


ขอขอบพระคุณมากๆ บทความโดย อาจารย์อภิชัย เลี่ยมทอง




   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:28:00    IP = 180.183.11.163
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 13  
 
ยาวนิดนึง แต่ผมเห็นว่ามันมีประโยชน์มากๆเลย เสียเวลานิดแลกกับเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์จากการซ้อมที่ไม่ถูกต้อง

ผมก๊อปมาเลยไม่รู้ว่าจะไปหนักเซิฟเวอร์ของเว็บหรือเปล่า แต่ก็ขอความกรุณาด้วยนะครับ ^^


   สมาชิกแบบพิเศษ      ryonard      22 ส.ค. 55   เวลา 17:33:00    IP = 110.77.228.208
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 14  
 
ขอบคุณมากครับ

ข้อแรกก็โดนแล้วครับ T T

   MentalDisease      22 ส.ค. 55   เวลา 17:48:00    IP = 27.130.122.37
 


  คำตอบที่ 15  
 
เจ๋งมากครับ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆๆๆครับ

   rattha025      22 ส.ค. 55   เวลา 17:49:00    IP = 223.204.145.55
 


  คำตอบที่ 16  
 
แปะครับ เดี๋ยวมา

   สมาชิกแบบพิเศษ      GreannnGuitarist      22 ส.ค. 55   เวลา 18:04:00    IP = 115.67.32.149
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 17  
 
ผมชอบมากครับ ^^

   martin      22 ส.ค. 55   เวลา 18:55:00    IP = 58.11.237.88
 


  คำตอบที่ 18  
 
ขอบคุณครับบ

   สมาชิกแบบพิเศษ      n-u-t  22 ส.ค. 55   เวลา 19:52:00    IP = 58.8.27.111
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 19  
 
ขอบคุณคร้าบ...^^

   nozztamaxxi      22 ส.ค. 55   เวลา 20:44:00    IP = 122.155.36.170
 


  คำตอบที่ 20  
 
จะนำไปใช้ครับ ขอบคุณมากๆ

   PETCHPOM      22 ส.ค. 55   เวลา 20:54:00    IP = 101.109.133.203
 


  คำตอบที่ 21  
 
ขอบคุณครับ ^_^

   A_indyman      22 ส.ค. 55   เวลา 21:00:00    IP = 115.67.0.68
 


  คำตอบที่ 22  
 
มีประโยชจริงๆครับบ ขอบคุณมากๆ

   สมาชิกแบบพิเศษ      inseekungGTT      22 ส.ค. 55   เวลา 21:37:00    IP = 110.168.100.192
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 23  
 
เยี่ยมมากเลยครับ ขอบคุณมากๆ ครับ

   Sharper      22 ส.ค. 55   เวลา 22:44:00    IP = 194.66.93.26
 


  คำตอบที่ 24  
 
ผมก็ทำอย่างนี้นะ

ทำไมไม่ไปไหนสักทีหว่า

   พายุลูกเห็บ      22 ส.ค. 55   เวลา 22:45:00    IP = 49.48.2.131
 


  คำตอบที่ 25  
 
-ขอบคุณครับ

   Tiger_wut      22 ส.ค. 55   เวลา 22:52:00    IP = 171.101.108.56
 


  คำตอบที่ 26  
 
ขอบคุณคร๊าบบบบ...

   สมาชิกแบบพิเศษ      mawmeaw99      22 ส.ค. 55   เวลา 22:55:00    IP = 223.207.58.138
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 27  
 
เยียมเลย

   chatchat  22 ส.ค. 55   เวลา 23:55:00    IP = 110.77.199.113
 


  คำตอบที่ 28  
 
เเปะไว้อ่านครับ

   crusher      22 ส.ค. 55   เวลา 23:59:00    IP = 101.109.171.196
 


  คำตอบที่ 29  
 
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก

   guitar10      23 ส.ค. 55   เวลา 1:14:00    IP = 58.8.94.176
 


  คำตอบที่ 30  
 
cxt

   dTT      23 ส.ค. 55   เวลา 2:01:00    IP = 58.11.70.51
 


  คำตอบที่ 31  
 
ขอบคุณมากๆ คร้าบ


   Gar Got      23 ส.ค. 55   เวลา 2:56:00    IP = 110.168.194.164
 


  คำตอบที่ 32  
 
^^

   baghiera      23 ส.ค. 55   เวลา 3:06:00    IP = 171.6.173.14
 


  คำตอบที่ 33  
 
เยี่ยมมม

   สมาชิกแบบพิเศษ      blackhold      23 ส.ค. 55   เวลา 9:29:00    IP = 119.46.68.228
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 34  
 
มาแปะด้วยคน

   aaa360      23 ส.ค. 55   เวลา 9:34:00    IP = 180.183.122.24
 


  คำตอบที่ 35  
 
แปะสักนิด ^^

   นู๋บอลลี่      23 ส.ค. 55   เวลา 10:40:00    IP = 125.25.151.89
 


  คำตอบที่ 36  
 
ค่อยๆนั่งอ่านทีละข้อ เริ่มเห็นภาพขึ้นอีกหน่อยครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      ms05b      23 ส.ค. 55   เวลา 12:38:00    IP = 110.77.176.193
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 37  
 
บทความมีประโยชน์มากๆครับ

   blossom      23 ส.ค. 55   เวลา 16:21:00    IP = 58.181.192.55
 


  คำตอบที่ 38  
 
ขอบคุณครับ

   eventide  23 ส.ค. 55   เวลา 23:34:00    IP = 110.171.62.237
 


  คำตอบที่ 39  
 
แปะ

   kennner01      24 ส.ค. 55   เวลา 1:15:00    IP = 171.97.5.146
 
 

Bigtone.in.th Online Music Store

Yamaha



ตั้งกระทู้ Login ก่อน Click ที่นี่
ผู้ตอบ :
รูปภาพ:  ( ไม่เกิน 150 K )
ข้อความ :
 

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket