(เพจ: โรงเรียนกีตาร์ไทย)


(เพจ: Guitarthai.com)
  10 สถานการณ์ตัวประกันที่มีชื่อเสียง  
 
เป็นรูปแบบอาชญากรรมที่โบราณมากแต่กระนั้นก็ยังเป็นรูปแบบที่ยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่โลกต้องเผชิญ กับการลักพาตัวบุคคลเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง การเมือง ผลประโยชน์ต่างๆ นำมาซึ่งการเจรจาเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งบางครั้งก็แอปปี้ทั้งสองฝ่าย ในขณะทีบางครั้งจบด้วยโศกนาฏกรรม โดยส่วนมากนั้นตัวประกันที่ถูกจับไปนั้น อาจถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย หรือถูกคุมขังยาวนาน ไม่ใช่เป็นวัน หรือเดือน แต่บางครั้งผู้โชคร้ายต้องตกอยู่ในฐานะตัวประกัน เป็นแรมปี จะมีเหตุการณ์ไหนบ้างเชิญชมใน 10 สถานการณ์ตัวประกันที่มีชื่อเสียง

......................................................................................................................


10. Ingrid Betancourt Pulecio



อินกริด เบทันคอร์ท เกิดเมื่อ 25 ธันวาคม 1961 เธอเป็นอดีตผู้สมัครชิงประธานาธิบดีประเทศโคลัมเบีย เชื้อสายฝรั่งเศส ซึ่งเธอถูกลักพาตัวและจับเป็นตัวประกันเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2002 ในระหว่างระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยกบฏฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า ฟาร์ค เธอถูกจองจำอยู่นานถึง 6 ปี ระหว่างนั่นเธอถูกทรมาน ถูกล่ามโซ่เหมือนสัตว์อยู่ในป่าเป็นคืนเป็นวัน ข่าวของของเธอเงียบหาย จนกระทั้งในปี 2007 มีการปล่อยวีดีโอเทปออกมาพบว่าเธอซูบผอม ทั้งยังบอบบางอย่างน่าเวทนา หลายฝ่ายเชื่อว่าเธออาจตายในเร็ววัน หากแต่สุดท้ายเธอก็รอดชีวิตและได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับตัวประกันอีก 14 คน(ประกอบด้วยอเมริกันสามคนและทหารตำรวจโคลัมเบีย)ในปีต่อมา หลังถูกปล่อยตัวเธอก็พยายามรณรงค์เรียกร้องให้กลุ่มกองโจรฟาร์ซเปลี่ยนแนวทางไปสู่ความสงบ และเธอได้รางวัลระดับนานาชาติหลายรายการโดย นิตยสาร "ไทมส์" ได้จัดอันดับให้เธอ เป็นบุคคลแห่งปี ประจำปี 2008 และเธอยังได้รับเสนอชื่อ ให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ



   สมาชิกแบบพิเศษ   top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 9:58:00       พิมพ์   แจ้งลบ      IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 1  
 

9. Terry Anderson



เทอรี่ แอนเดอร์สัน(เกิด 27 ตุลาคม 1947) เป็นนักข่าวอเมริกัน หนึ่งในชาวต่างชาติที่ 92 (รวม 17 คนอเมริกัน) ถูกลักพาตัวในระหว่างสงครามเลบานอน โดยเขาถูกลักพาตัวขณะที่ออกจากสนามเทนนิส บนถนนเบรุตตะวันตก ของประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 1985 เขาถูกใส่ท้ายรถ ถูกนำไปสถานที่ลับ และถูกจำคุกในห้องใต้ดินและเปลี่ยนที่เป็นระยะยาวน่านถึงหกปีและอีกเก้าเดือน นับว่าเป็นตัวประกันชาว สหรัฐฯ ที่ถูกจับตัวไว้ยาวนานสุด(เขาถูกปล่อยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1991) ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระเป็นคนสุดท้าย โดยผู้ที่จับตัวเขาไปนั้นเป็นกลุ่มชาวมุสลินที่เรียกว่า Shiite Hezbollah หรือพรรคของพระเจ้าต่อสู้ องค์กรมุสลิมที่เกิดขึ้นในปี 1982-1983 ที่ได้รับการสนับสนุนอิหร่านในการตอบโต้โดยใช้อาวุธต่ออิสราเอล เป้าหมายคือมุสลินในเลบานอน ซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากมักถูกกลุ่มดังกล่าวจับเป็นจำนวน เนื่องจากสหรัฐสนับสนุนอิสราเอล หลังจากที่แอนเดอร์สันกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ได้พบกับครอบครัวของเขารวมถึงลูกสาวของเขา ที่เกิดสามเดือนหลังจากที่เขาถูกจับ โดยคนครอบครัวเกือบคิดว่าเขาไม่มีโอกาสเจอหน้าพ่อแล้ว ต่อมาในปี 1999 เขาฟ้องรัฐบาลอิหร่านเป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มที่ลักพาตัวเขาดังกล่าว


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 9:59:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 2  
 

8. Iran Hostage Crisis



วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน เป็นวิกฤตทางการทูตระหว่างอิหร่านและสหรัฐ เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการทูตสหรัฐกว่า 52 ถูกจับตัวประกัน นับจากวันที่ 4 พฤศจิกายน 1979 ถึง 20 มกราคม 1981 โดยผู้ผู้ก่อการดังกล่าวเป็นกลุ่มนักนักศึกษามุสลินราว 300-500 คน ที่เอาสถานทูตอเมริกันประจำกรุงเตหะรานเป็นฐาน โดยเรียกร้องให้สหรัฐส่งตัวพระเจ้าชาห์ โมฮัมเมด เรซา ปาห์เลวี(1919-1980)ซึ่งกำลังรักษาโรคมะเร็งในสหรัฐกลับมาดำเนินอิหร้าน ตอนแรกสหรัฐรับปากหากแต่ตอนหลังปฏิเสธเพราะพระเจ้าชาห์ป่วยอยู่ และจากนั้นนักศึกษาเรียกร้องให้รัฐบาลตัดความสัมพันธ์ต่อสหรัฐ ซึ่งสหรัฐเองก็ตอบโต้ด้วยการอายัดทรัพย์สมบัติอิหร่านและส่งกองกำลังไปประชิดทะเลอาหรับ ซึ่งปรากฏว่าแรงกดดันของสหรัฐเหนือกว่า จนสามารถให้นักศึกษาปล่อยประกันออกไปบางส่วน หลังจากนั้นก็มีการเจรจาทั้งสองฝ่ายแต่ก็ไม่สามารถหาผลสรุปที่พอใจแก่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ จนสหรัฐต้องใช้เหตุปฏิบัติการ Eagla Claw ในวันที่ 24 เมษายน 1980 โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ชิงตัวประกัน แต่แผนดังกล่าวล้มเหลวเพราะเครื่องบินไม่สามารถผ่านพายุทรายได้ ส่งผลทำให้เครื่องบินเสียหายและทหารตายหลายนาย หลังจากนั้นทางการสหรัฐพยายามแทรกแซงกิจการภายในของอิหร่านทั้งการทหารและเศรษฐกิจและพยายามมีการเจรจากันทั้งสองประเทศ แต่ก็ยังไม่บรรลุผลข้อตกลงได้ จนกระทั้งเรื่องยุติลงเมื่อทั้งสองฝ่ายใช้ทูตของแอลจีเรียเป็นตัวกลางเจรจา ทำให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ตัวประกันทั้งหมดจึงถูกปล่อยตัว หลังจากคุมขังทั้งสิ้น 444 วัน


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:00:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 3  
 

7. Patty Hearst



แพทริเชีย เฮิร์สท เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1954 เป็นทายาทของวิลเลี่ยม แรนดอล์ฟ เฮิร์สท ซึ่งเป็นไฮโซและ ผู้ก่อตั้งเฮิร์สทกรู๊ปซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลด้านสื่อมวลชนเป็นอย่างมากในยุคนั้น เรื่องราวของเธอมาโด่งดังเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1974 ขณะที่แพทริเชียอยู่กับคนรักของเธอ ที่อพาร์เมนท์หรูในเบอร์เคอร์เลย์ ซานฟรานซิสโก เธอถูกกลุ่มคนร้ายกองทัพปลดปล่อยอิสระ SLA (Symbionese Liberation Army) ลักพาตัวไปทั้งยังอยู่ใน ชุดเสื้อคลุมอาบน้ำ หลังจากที่แพทริเชียถูกจับเป็นตัวประกัน กลุ่มคนร้ายได้เรียกร้องค่าไถ่ตัว ก่อนที่เรื่องจะเงียบหายลง จนกระทั้ง อีกสองเดือนให้หลัง เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงให้กับคนทั่วอเมริกา วันที่ 15 เมษายน มีการปล้นธนาคารที่ธนาคารฮิเบอร์เนีย สาขาซันเซ็ต และกล้องรักษาความปลอดภัยก็จับภาพหญิงสาวผู้หนึ่งในกลุ่มคนร้ายไว้ได้ เธอถือแมชชีนกันพร้อมกับตะโกนสั่งคนที่อยู่ในธนาคารด้วยเสียงอันดัง และเธอผู้นี้ก็คือแพทริเชีย เฮิร์สทซึ่งถูก SLA จับไว้ในฐานะตัวประกันนั่นเอง ต่อมาในเดือนกันยายน 1975 แพทริเชียและ SLA คนอื่นๆก็ถูกจับกุมที่อพาร์ทเมนท์ใน ซานฟรานซิสโก ขณะที่ถูกจับกุมนั้น แทบจะไม่มีใครบอกได้ว่าเธอเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐีเลย แพทริเชียในตอนนั้นใส่เสื้อวอร์มแขนยาว กางเกงผ้าฝ้ายราคาถูก รองเท้ายางสกปรก และไม่ได้ใส่เสื้อยกทรง และเมื่อเธอขึ้นศาลเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1976 แพทริเชียก็ยืนยันว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์ และทุกอย่างที่เธอทำลงไปนั้นเป็นเพราะถูกล้างสมอง ศาลได้ตัดสินให้เธอถูกจำคุกเป็นเวลา 7 ปี แต่เพทรีเซียจ่ายเงินประกันตัว 1,500,000 ดอลล่าร์ปบวกกับคำสั่งละเว้นโทษจากประธานาธิบดี แพทริเชียก็ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ และกรณีของแพทริเชีย เฮิร์สทได้ถูกนำมาใช้อธิบายอาการทางจิตที่เรียกว่า Stockholm Syndrome ซึ่งหมายถึงอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่คนร้าย และเชลยอยู่ร่วมกันในสถานที่จำกัดเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนเชลยเกิดความเห็นใจและความรู้สึกในแง่ดีต่อตัวคนร้ายและประพฤติตนโอนเอียงไปในทางให้ความร่วมมือกับคนร้ายมากกว่า


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:00:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 4  
 

6. Moscow theater hostage crisis



วิกฤตการจับตัวประกันในโรงละครที่กรุงมอสโก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2002 โดยชาวเชเชนติออาวุธ 40 - 50 คน ที่อ้างว่าเป็นหน่วยฆ่าตัวตายจากกองพลที่ 29 ที่จงรักภักดีกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนในเชชเนีย ได้จับตัวประกัน 850 - 900 คน ที่โรงละครในกรุงมอสโก เพื่อบังคับให้รัสเซียถอนทหารออกจากเขตเชเชนและยุติสงครามเชเชน หลังจากมีการล้อมกองกำลังกดดันและมีการเจรจาไปพักใหญ่กลุ่มดังกล่าวก็ปล่อยตัวประกันส่วนหนึ่งที่ผู้หญิงท้อง เด็ก ชาวมุสลิม และ ชาวต่างชาติบางส่วนที่มีปัญหาทางสุขภาพประมาณ 150 - 200 คน ให้เป็นอิสระ การเจรจายืดเยื่อยจนกระทั้งถึงวันที่ 26 ตุลาคม กองกำลังรัสเซียได้ตัดสินใช้บุกเข้าไปช่วยตัวประกัน โดยเริ่มมีการปั๊มแก็ส(ไม่ทราบว่าเป็นสารเคมีชนิดใด)เข้าเข้าไปตัวอาคารของโรงละคร ทำให้กลุ่มเชเชนขวัญเสียจนเกิดการยิงปะทะขึ้น ราว 1 ชั่วโมง สุดท้ายมีชาวเชเชนชาย-หญิงเสียชีวิต 33 คน ตัวประกันเสียชีวิต 129 คน (มีเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตจากการถูกยิง ที่เหลือเสียชีวิตจากแก็สและการช่วยเหลือที่ล่าช้า)


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:01:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 5  
 

5. Beslan school hostage crisis



เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อ 1- 3 ก.ย 2004 เมื่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายกบฏเชเชนติดอาวุธประมาณ30คน สวมหมวกคลุมหน้าอาวุธครบมือ และมีเข็มขัดระเบิดพันรอบตัว ได้บุกจับตัวประกันที่ โรงเรียนหมายเลข 1 ในเมืองเบสลันรัฐนอร์ธออสเซเทีย ทางภาคใต้ของรัสเซีย ซึ่งติดกับพรมแดนเชชเนีย จับตัวประกันเด็กนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ไว้ประมาณ 1,200 คน นำไปควบคุมตัวไว้ในโรงยิม และทำลายโทรศัพท์มือถือของตัวประกันเพื่อตัดการติดต่อสื่อสารกับภายนอก วางระเบิดภายในโรงยิมทุกด้าน จำนวน16-18ลูก ไว้ตามกรอบหน้าต่างและประตู ป้องกันตัวประกันหลบหนี และจัดพลซุ่มยิงไปประจำบนหลังคาโรงยิมเพื่อตรวจการณ์ความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่รัสเซีย กลุ่มคนร้ายได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากเชชเนีย และปล่อยตัวผู้ก่อการร้าย 24 คนที่ถูกจับในการเข้าโจมตีคลังแสงของสาธารณรัฐอินกูเซเทียผู้ก่อการร้ายขู่จะระเบิดตัวเอง พร้อมอาคารและตัวประกันทั้งหมดทันทีหากรัฐบาลรัสเซียส่งกำลังทหารเข้าจู่โจมช่วยเหลือตัวประกัน ทางการรัสเซียพยายามแก้ปัญหาในครั้งนี้ทุกวิถีไม่ว่าจะส่งตัวแทนไปเจรจา ส่งทหารไปล้อมพื้นที่ จนเหตุการณ์ยืดเยื่อจนถึงวันที่ 3 กันยายน เมื่อเวลา 13:00 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นภายในโรงยิมที่ควบคุมตัวประกันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ตัวประกันวิ่งหนี ผู้ก่อการร้ายเปิดฉากยิงใส่ตัวประกัน ทำให้เกิดการชุลมุนเหตุการณ์เกิดขึ้น และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็พยายามยิงตอบโต้กับคนร้าย ผลคือผู้ก่อการร้ายทั้งชายและหญิง 26 คน ได้เสียชีวิตทั้งหมดระหว่างการยิงปะทะกับกองทัพรัสเซีย ส่วนตัวประกันเสียชีวิต 394 คน รวมผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมดและเป็นเด็กประมาณครึ่งหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การรักษาความปลอดภัยและส่งผลกระทบการเมืองในเวลาต่อมา


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:02:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 6  
 

4. Eloá Pimentel



วิกฤตตัวประกัน Eloá หมายถึงการสถานการณ์ลักพาตัวประกันและการฆาตกรรมของหญิงสาวบราซิลชื่อ Eloá - Cristina Pimentel อายุ 15 ปี พร้อมกับเพื่อนของเธอซิลวา(Nayara Silva) ซึ่งผู้ก่อการคืออดีตแฟนของเธอชื่ออัลเวส( Lidemberg Alves) เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการช่วยตัวประกันที่ผิดพลาด เพราะความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจเซาเปาโล และเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ลักพาตัวประกันยาวนานที่สุดของเซาเปาโล(อย่างเป็นทางการ) ถึง 100 วัน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2008 เธอและซินวา เพื่อนอีกสองคนกำลังทำงานโครงการโรงเรียน จนกระทั้งจู่ๆ แฟนเก่าของเธอที่ชื่ออัลเวสบุกบ้านพักของเธอปืนพก และจับเธอและเพื่อนเป็นตัวประกัน ในเวลาต่อมาเขาปล่อยเพื่อนเธอสองคน เหลือไว้แต่เธอและซินวา โดยภาพที่แพร่ไปทั่วโลกคือภาพของ Eloá โผล่ออกมาที่หน้าต่าง(โดยคนร้ายอยู่ข้างหลัง) ร้องไห้และโบกไม้โบกมือขอความช่วยเหลือจากคนข้างล่างซึ่งไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ การเจรจายืดเยื่อจนกระทั้งวันที่ 16 ตุลาคม จู่ๆ ก็ได้ยินเสียงปืนดังจากบ้านพักทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตัดสินใจบุกเข้าไป ในที่สุดสามารถจับกุมอัลเวสได้ ซิลวาได้รับบาดเจ็บที่ต้นขา หาแต่ Eloá ได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในทันที หากแต่เธอได้รับบาดเจ็บรุนแรงและเกิดอาการสมองตาย ทำให้เธอเสียชีวิตลงในวันที่ 18 ตุลาคม เวลา 23:30 น.


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:02:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 7  
 

3. Gracia and Martin Burnham



การ์เซีย เบิร์นแฮม(เกิด 17 มกราคม ไคโร อิลลินอยส์) และสามีของเธอ มาร์ติน เบิร์มแฮม ที่เป็นชาวอเมริกัน โปรเตสแตนส์ และมิชชันนารีนฟิลิปปินส์ กับพันธกิจใหม่ ทั้งสองเป็นหนึ่งในตัวประกันที่ถูกลักพาตัวโดยกลุ่ม Abu Sayyaf ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกการก่อการร้ายในภาคใต้ของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2001 ในขณะที่ตัวประกันหลายคนถูกปล่อยจากการนำค่าไถ่มาเรียกตัว หากแต่กรณีของเบิร์นแฮมทางกลุ่มเรียกร้องเงินถึง 1,000,000 ดอลลาร์ แต่ค่าไถ่ที่ได้มีเพียง 330,000 ดอลลาร์ ทำให้ทางกลุ่มก่อการร้ายปฏิเสธที่จะปล่อยตัวพวกเขา ทำให้กองกำลังทางบกของฟิลิปปินส์ต้องใช้กำลังในการแก้ปัญหา พวกเขาส่งกองกำลังช่วยตัวประกันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2002 หากแต่ในระหว่างที่ช่วยตัวประกันมาร์ตินถูกฆ่าโดยปืนสามนัดที่หน้าอก ส่วนการ์เซียได้รับบาดเจ็บที่ขาขวา หลังจากการเสียชีวิตของสามี เธอได้กลับไปยังประเทศสหรัฐและอยู่กับลูกสามคน เธอได้เขียนหนังสือจากประสบการณ์ของเธอในการเป็นตัวประกันในฟิลิปปินส์สองเล่มในชื่อ In the Presence of my Enemies(2002) และ To Fly Again(2005) และก่อตั้งมูลนิธิมาร์ติน


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:03:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 8  
 

2. Roy Hallums



รอย ฮอลล์ยูนิค เป็นผู้รับเหมาชาวอเมริกันที่ถูกลักพาตัวในอีรัก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2004 และถูกจับเป็นตัวประกันนานถึง 311 วัน ก่อนที่ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 7 กันยายน 2005โดยวันที่เขาถูกลักพาตัวนั้น วันนั้นมีมือปืนกว่า 20 คนโจมตีเขาและเพื่อนร่วมงานที่กำลังงานอยู่ในย่าน Mansour เขตเมืองของแบกแดก เขาถูกจับเป็นตัวประกันพร้อมกับเพื่อนชาวฟิลิปปินส์ , เนปาล และชาวอิรักสามคน และสามอิรักสามคนดังกล่าวถูกปล่อยมาทันทีหลังจากลักพาตัว ต่อมาวันที่ 25 มกราคม 2005 วีดีโอเทปของเขาได้ถูกปล่อยออกมาโดยผู้ก่อการร้าย จากภาพแสดงให้ว่าเขาทรุดโทรม สภาพจิตตกอย่างรุนแรง เครายาว พร้อมกับมีปืนจ่อที่หัวของเขาตลอดเวลา โดยในเทปเขากล่าวว่า “ผมถูกจับตัวโดยกลุ่มต่อตานในอิรัก” “ผมขอความช่วยเหลือเพราะชีวิตของผมกำลังตกอยู่ในอันตรายเพราะเขาพิสูจน์ว่าผมทำงานอยู่ในกองกำลังของอเมริกัน” ต่อมาหลายฝ่ายพยายามช่วยเหลือรอย โดยตามรอยว่าเขาถูกคุมตัวที่ใด ก่อนที่จะมีปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2005 โดยทหารอเมริกันบุกโจมตีบ้านไร่ 15ที่ห่าง 15 ไมล์ทางตอนใต้ของแบกแดก และผู้ก่อการร้ายถูกจับกุมบางส่วน ส่วนรอยรอดชีวิต แต่ร่างกายอ่อนแอ เพราะระหว่างที่ตกเป็นเชลยสิบเดือนเขาถูกมัดและปิดปากตลอดเวลา แต่เมื่อทำการรักษาจนหาย เขาก็สามารถกลับไปหาครอบครัวในที่สุด


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:03:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 9  
 

1. Father Lawrence Martin Jenco



หลวงพ่อ ลอว์เรนซ์ มาร์ติน เจนโค (27 พฤศจิกายน 1934- 19 กรกฎาคม 1996) เป็นชาวโจเลียต, อิลลินอยส์ ที่ถูกจับเป็นตัวประกันในเบรุตโดยถูกห้าคนติดอาวุธลักพาเมื่อเดือนมกราคม 19825 ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคาทอลิคบริการบรรเทาทุกข์ที่นั่น หลวงพ่อเป็นตัวประกันนานถึง 564 วัน ก่อนที่ถูกปล่อยตัวออกมา และได้รับอนุญาตกลับประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในปี 1996 และศพของหลวงพ่อถูกฝังในสุสานของรัฐอิลลินอยส์ จากหนังสือของหลวงพ่อเล่าว่าหลวงถูกลักพาตัวและถูกกักขังโดยกลุ่มมุสลิน Shiite ในช่วงเวลาที่ถูกจำคุกหลวงพ่อได้เพียงแต่สวดมนต์และนั่งสมาธิภาวนาขอให้ออกมา ในช่วงเวลาดังกล่าวหลวงพ่อถูกล่ามโซ่และปิดตา อนุญาตให้ใช้ห้องน้ำเพียงวันละครั้ง หลวงพ่อต้องเดือดร้อนกับอาการตาติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ตามมา และเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนที่ซ่อนหลวงพ่อต้องถูกมัดเทปและซ่อนไว้ท้ายบรรทุกเพื่อป้องกันการตรวจค้นโดยทหารหรือตำรวจเวลาตรวจสอบยานพาหนะ และยังได้รับความทุกข์ทรมานจากการทุบตี ในช่วงท้ายของการถูกจับกุมเชลย หลวงพ่อได้ให้อภัยแก่คนลักพาตัวของหลวงพ่อ และเรื่องราวของหลวงพ่อทำให้เกิดมูลนิธิหลวงพ่อ ลอว์เรนซ์ มาร์ติน เจนโค ที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานการกุศล



เครดิต Toptenthailand.com

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 10:04:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 10  
 
อันดับ 8 นี้ เขาเอามาทำเรื่อง Argo สนุกมากเลยครับเรื่องนี้

   สมาชิกแบบพิเศษ      ULtrASLaM      5 ก.ย. 56   เวลา 10:22:00    IP = 180.180.140.118
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 11  
 
ขอบคุณครับ...

   The_guitar      5 ก.ย. 56   เวลา 10:28:00    IP = 210.118.108.254
 


  คำตอบที่ 12  
 
อ่านแล้วหดหู่จังครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      Jsmith      5 ก.ย. 56   เวลา 10:36:00    IP = 171.97.141.140
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 13  
 
ULtrASLaM สวัสดีครับผมยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนั้นเลยต้องลองหามาดูบ้างแล้วครับ

The_guitar สวัสดีครับ

Jsmith สวัสดีครับเป็นเรื่องหดหู่ครับแต่ก็สะท้อนความโหดร้ายและความขัดแย้งของมนุษย์ครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:08:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 14  
 
ไม่ยักจะมี ปิดถนน ยึดสนามบิน เป็นตัวประกันแฮะ^^

   สมาชิกแบบพิเศษ      kangpc      5 ก.ย. 56   เวลา 11:13:00    IP = 49.197.4.130
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 15  
 
ปฏิบัติการ Eagle Claw


ปฏิบัติการทางทหารลับสุดยอดครั้งนี้ ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะมากนัก รูปแบบการปฏิบัติการคล้ายกับปฏิบัติการเอนเท็บเบ้ ที่เคยสำเร็จลงด้วยดีเมื่อสี่ปีก่อนหน้า แต่ผลของการปฏิบัติการครั้งนี้ กลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง
ก่อนการสถาปนารัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ราชวงศ์ชาห์ (SHAH) ที่เคยปกครองอิหร่านมานับร้อยปี พันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ ถูกโค่นล้มลงด้วยการปฏิวัติของนักศึกษา 4 พ.ย.1979 สถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเตหะราน ถูกบุกรุก นักศึกษาชาวอิหร่านได้จับกุมเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูต และนาวิกโยธินรวม 52 คน เป็นตัวประกัน ทั้งหมดตกเป็นเชลยถูกคุมขังโดยไม่ทราบชะตากรรม
รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้เวลาเจรจาต่อรองนานกว่าหกเดือน แต่ผลของการเจรจาล้มเหลว สหรัฐฯ บอกตัดความสัมพันธ์ทางการทูตจากอิหร่าน ในวันที่ 8เม.ย.1980 พร้อมสั่งการให้กองทัพเตรียมพร้อมเต็มอัตราศึก เป็นการเตรียมตัว เตรียมแผนหลัก-รองไว้หลายแผน เพื่อเข้าชิงตัวประกัน
วิกฤตการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกันต้องอับอาย โดยที่แทบจะช่วยพลเมืองของตนไม่ได้ เตหะรานเมืองหลวงของอิหร่านตั้งอยู่กลางทะเลทรายอันกว้างใหญ่ และรอบบริเวณนั้น ยังห่างไกลจากมิตรประเทศของสหรัฐฯ หนำซ้ำสถานที่คุมขังตัวประกันทั้งหมด ยังถูกคุมขังอยู่ห่างจากสนามบิน การหาข่าวกรอง การสอดแนม กระทำได้ยากลำบาก ไม่อาจตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่า ศัตรูมีกำลังและอาวุธเท่าไร
การวางแผน การฝึกซ้อม เพื่อเข้าชิงตัวประกัน ต้องกระทำด้วยการปกปิดเป็นความลับอย่างที่สุด มีการวางแผนปฏิบัติการไว้หลายแผน
แผนหนึ่งกำหนดให้ส่งทหารจำนวนหนึ่ง แทรกซึมเข้าอิหร่านโดยผ่านประเทศตุรกี แต่แผนนี้ถูกปฏิเสธ เพราะเกรงว่าจะกระทบความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างรุนแรง
อีกหนทางหนึ่งโดยการส่งทหารกระโดดร่มลงในเวลากลางคืน แต่อาจพลาดพลั้งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการปะทะ
แผนทั้งสองจึงถูกยกเลิกไป
ท้ายที่สุดแผนการจึงจบลงด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าปฏิบัติการ

การเตรียมพร้อมของกองทัพสหรัฐฯ
ก่อนเดือนธันวาคม 1979 ทันทีที่มีสถานการณ์ตัวประกันเกิดขึ้น หน่วยทหารที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้รับการวางตัว มอบหมายภารกิจ เพื่อให้ได้รับการฝึกซ้อม การฝึกซ้อมดำเนินควบคู่ไปกับการเจรจาจนถึงเดือนมีนาคม 1980 เมื่อการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ ประธานเสนาธิการทหาร (Join Chiefs of Staff ;JCS) ซึ่งเป็นผู้นำทางทหารสูงสุดของสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 16 เม.ย.1980 ให้ปฏิบัติการชิงตัวประกันคืน
19 - 23 เม.ย.1980 สามวันต่อมา กองกำลังที่ผ่านการซ้อมทั้งหมด แอบเคลื่อนพลเข้าสู่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กองกำลังสี่เหล่าประกอบด้วย
ทบ.สหรัฐฯ ใช้ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ Ranger และหน่วย Delta – force
ทร.สหรัฐฯ ใช้เฮลิคอปเตอร์แบบ RH-53D ของ ฝูงบิน HM – 16 เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Nimitz (CVN68) และ USS Coral Sea (CV43) ทอดสมออยู่กลางทะเลอาหรับ คอยให้การสนับสนุนเพิ่มเติมตามคำร้องขอ พร้อมด้วยเครื่องบินโจมตี/ขับไล่ F -14, A6, A -7E
ทอ.สหรัฐฯ ใช้เครื่องบิน AC - 130 จำนวน 3 ลำ, EC - 130 จำนวน 3 ลำ MC - 130 จำนวน 4 ลำ และ C - 141 จำนวน 2 ลำ


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:15:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 16  
 
ด้วยความห่างไกลของสถานที่กักขังตัวประกัน กองกำลังบางส่วนได้แทรกซึมเข้าสู่กรุงเตหะรานล่วงหน้าก่อนที่กองจู่โจมหลักจะเข้ามาสมทบ การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการทำงานแบบ “กล้าได้ – กล้าเสีย” ของทหารทั้งสี่เหล่าของสหรัฐฯ
แผนขั้นต้น เริ่มด้วยการส่งหน่วยปฏิบัติการ เข้าสู่อิหร่านในเวลากลางคืน ก่อนจะลงมือหนึ่งคืน และจะถอนตัวออกภายหลัง หลังจากปฏิบัติการแล้วเสร็จ
24 เม.ย.1980 คืนแรก เครื่องบิน MC – 130 จำนวน 3 ลำ ลอบบินเข้าสู่อิหร่าน แอบส่งหน่วยรบ Delta Force หน่วยควบคุมการส่งลง (Combat Control team) ล่ามและพนักงานขับรถลงสู่พื้น
ต่อมาเครื่องบิน EC – 130 อีกสามลำ บินตามเข้ามามีภารกิจคอยเติมน้ำมันให้กับเฮลิคอปเตอร์ RH -53 ของหน่วยนาวิกโยธิน ซึ่งบินขึ้นมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิทส์
เมื่อเฮลิคอปเตอร์เหล่านี้ได้รับการเติมน้ำมันแล้ว จึงจะนำกองกำลังจู่โจมหน่วยแรกไปซ่อนตัวไว้ใกล้กับกรุงเตหะราน และคอยสมทบกับสายลับชาวอิหร่านซึ่งยังคงภักดีกับสหรัฐฯ และนำกำลังทั้งหมดไปซ่อนในเซฟเฮาส์รอคอยการลงมือในคืนถัดไป จากนั้นเฮลิคอปเตอร์จะบินต่อไปและแอบซ่อนพรางในหุบเขาไกลจาสายตาผู้คน เพื่อรอการเรียกกลับจากหน่วย Delta – Force


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:17:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 17  
 
25 เม.ย.1980 คืนที่สอง เครื่องบิน EC - 130 และ MC – 130 อย่างละลำ จะบินเข้าสู่อิหร่านอีกครั้ง พร้อมด้วยหน่วยจู่โจม Ranger ของ ทบ.สหรัฐฯ จำนวน 100 นาย มุ่งไปที่สนามบิน Manzariyeh หน่วยนี้จะจู่โจมเข้ายึดสนามบิน เพื่อรอคอยการเข้ามาของเครื่องบิน C – 141 ในการรับตัวประกันทั้งหมดกลับบ้าน
เครื่องบิน AC – 130 สามลำจะคอยบินวนอยู่ในรัศมีของสนามบิน Manzariyeh เพื่อให้การสนับสนุนหน่วย Ranger ในการเข้ายึดสนามบิน และยังให้การสนับสนุนหน่วย หน่วย Delta – Force ที่เฝ้าคอยกดดันทหารอิหร่านจากฐานทัพ Mehrabad ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลสนามบิน Manzariyeh มากนัก
แผนการหลัก คือ ใช้หน่วย Delta – Force เข้าจู่โจมอาคารสถานทูต เพื่อปลดปล่อยตัวประกัน นำตัวประกันไปยังจุดนัดพบของเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งอยู่ใกล้กับสนามกีฬาแห่งชาติ เพื่อนำตัวประกันและกองทหารทั้งหมดบินต่อไปยังสนามบิน Manzariyeh แล้วขึ้นเครื่องบิน C – 141 บินกลับบ้าน โดยนำเครื่องบิน C – 130 ทั้งหมดบินกลับ แต่จำยอมทำลายเฮลิคอปเตอร์บางลำทิ้ง ก่อนบินกลับ
การมีส่วนร่วมของเฮลิคอปเตอร์
เฮลิคอปเตอร์แบบ RH – 53D เป็นรุ่นที่มีอุปกรณ์ต่อต้านกับระเบิด ทร.สหรัฐฯ ได้รับเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้จำนวน 30 ลำแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1973 เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้สหรัฐฯ ได้ขายให้กับอิหร่านจำนวน 6 ลำ ในสมัยที่ราชวงศ์ชาร์เรืองอำนาจ
การพิจารณาเลือกใช้เฮลิคอปเตอร์แต่ละแบบในการปฏิบัติการครั้งนี้ นับว่ามีความยุ่งยากพอสมควร แต่ในที่สุด RH – 53D. ฉายา Sea Stallation ก็ได้รับเลือกเนื่องจากมันมีสมรรถนะในการบรรทุกได้มากถึง 15 ตัน หรือจำนวนคน 30 คนและเมื่อติดตั้งถังน้ำมันภายนอกยังสามารถบินได้ระยะทางไกลเพิ่มขึ้น มันมีความเร็วสูงถึง 160 น๊อต แม้จะเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำใหญ่แต่มันสามารถทำการบินผาดแผลงในท่า Loop และ Barrel Roll ได้ไม่ต่างจากเครื่องบินลำเล็ก ๆ
เริ่มปฏิบัติการ
ตอนเย็นของวันที่ 24 เมษายน 1980 (พ.ศ.2523) เครื่องบิน C – 130 ทั้งหกลำ บินออกจากสนามบิน Masirah บนเกาะของประเทศโอมาน และเฮลิคอปเตอร์ RH – 53D แปดลำ ยกตัวขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิทส์
ทั้งสองหมู่บินต่างมุ่งสู่จุดนัดพบกลางทะเลทรายที่ถูกเข้ารหัสว่า Desert One
ปัญหาแรก
การวางแผนก่อนการจู่โจมหนึ่งเดือน หน่วยบินลับของ CIA ได้ส่งเครื่องบินขนาดเล็กเข้าไปใน Desert One ก่อนแล้ว เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษใช้มอเตอร์ไซด์สำรวจพื้นที่ที่จะส่งลง และทำเครื่องหมายเป็นจุดสังเกตุ รอไว้ให้หมู่บินที่จะเข้ามาร่อนลงในวันปฏิบัติการ การแทรกซึมครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดีไม่ถูกทหารอิหร่านตรวจพบ นักบินที่เข้าไปรายงานกลับมาว่า ณ ตำบลนั้นที่ระดับความสูงสูงกว่า 3000 ฟุต สามารถตรวจพบสัญญาณเรดาห์ของฝ่ายอิหร่านได้ แต่ระดับความสูงต่ำกว่านั้นไม่พบสัญญาณใดๆ
จากรายงานการข่าวดังกล่าว หน่วยบินเฮลิคอปเตอร์ได้รับคำสั่งว่าให้บินต่ำกว่าความสูง 200 ฟุต เพื่อหลบสัญญาณเรดาห์ ข้อจำกัดนี้ทำให้นักบินต้องบินในระดับต่ำ เสี่ยงต่อการบินไปชนเนินทราย ซึ่งค่อย ๆ ลาดเอียงขึ้นทีละน้อย จนยากที่จะสังเกตุเห็นในเวลากลางคืน หรือไม่ก็เสี่ยงต่อการบินเข้าไปในพายุทะเลทรายโดยไม่รู้ตัว ซึ่งนั่นทำให้บางครั้งนักบินต้องบินไต่สูงขึ้นมากกว่า 200 ฟุต ในบางครั้งเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยไม่สามารถบินรักษาระดับความสูงคงที่ไว้ได้
เฮลิคอปเตอร์สองลำเกิดมองไม่เห็นหัวหน้าหมู่บิน คลาดจากหมู่บิน จึงจำเป็นต้องร่อนลงฉุกเฉิน จนไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติการต่อไปได้
อีกหนึ่งลำต้องร่อนลงต่อมา เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค นักบินและลูกเรือลำนี้ได้รับการช่วยเหลือโดย
เฮลิคอปเตอร์อีกลำ แต่นั่นทำให้ ฮ.ลำนี้ล่าช้าจากหน่วยบินหลักไปอีก 20 นาที
ระหว่างบินเข้าสู่ Desert One เฮลิคอปเตอร์ RH–53D ทั้งหมด ต้องเผชิญกับพายุทะเลทรายและลมกรรโชกแรง

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:18:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 18  
 
หลังจากได้รับคำสั่ง EC – 130 พร้อมน้ำมันสำรองได้มาถึงเรียบร้อยแล้ว
อีกสองลำซึ่งเข้ามาลงก่อนหน้านี้สตาร์ทเครื่องและบินเข้าไปยังจุดนัดหมาย
โชคร้ายที่เฮลิคอปเตอร์อีกลำหนึ่งประสบปัญหาทางเทคนิคอีก นักบินและหัวหน้าหน่วย นย. ตัดสินใจนำเฮลิคอปเตอร์และหันหลังกลับ แม้ว่าได้เดินทางไปครึ่งทางแล้ว
ถึงตอนนั้นกองบินรบเหลือเฮลิคอปเตอร์อยู่เพียง 6 ลำ เกือบจะไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
หมู่บินแรกซึ่งประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์สามลำได้ฝ่าพายุมาจนถึง Desert One
อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมาลำที่ 4 มาถึง
และสองลำสุดท้ายตามมาถึงในเวลา 15 นาทีต่อมา
ความยุ่งยากเกิดขึ้นอีกเมื่อเฮลิคอปเตอร์อีกลำหนึ่งเกิดปัญหาทางเทคนิคในระบบไฮดรอลิก ซึ่งก็ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขแต่กระทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้เฮลิคอปเตอร์ลำนั้นไม่สามารถบรรทุกได้อย่างเต็มที่ ทั้ง ๆ ที่ ตามแผนต้องการ 6 ลำ ปรากฏว่าขณะนั้นเหลือเพียง 5 ลำที่บินได้ ส่วนอีกหนึ่งลำเกิดปัญหา ซึ่งนั่นเป็นคำตอบสุดท้าย ที่ทำให้ภารกิจซึ่งเตรียมมานานนับเดือนถูก”ยกเลิก”
โชคร้ายยังไม่หมด เกิดมีอีกปัญหาเกิดขึ้น หลังจากที่ C–130 ลำแรกลงถึงพื้นแล้ว หน่วย Delta – Force กระจายกำลังออกไปป้องกันรอบสนามบิน ได้ตรวจพบรถบัสนำชาวอิหร่านจำนวน 40 คน และรถบรรทุกน้ำมันเถื่อนเดินทางผ่านมาพอดี จึงถูกสกัดไว้ มีการยิงต่อสู้กัน ด้วยจรวดขนาด 66ม.ม.ผลการยิงทำให้เกิดไฟลุกท่วม สร้างความสับสนให้เกิดขึ้น
ความหายนะ
การยกเลิกคำสั่งปฏิบัติการถูกกระจายออกไป หลายสิ่งกำลังจะกลายเป็นหายนะ เมื่อเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งได้บินขยับตำแหน่งการจอด แต่เกิดการเซไปใกล้ EC–130 หลายลำซึ่งจอดอยู่ กอปรกับความมืดและฝุ่นทรายที่ถูกตีจากลมใบพัด ทำให้ยากต่อการมองเห็น C-130 และ เฮลิคอปเตอร์ลำนั้นชนกันเกิดระเบิดเป็นเปลวไฟทันที ท้องฟ้ากลางทะเลทรายอันมืดมิดถูกทำให้สว่างขึ้นด้วยเปลวไฟ ซึ่งได้คร่า 8 ชีวิต ของนักบินและลูกเรือทั้งสองลำ ดังนี้

CAPT Harold L. Lewis Jr. USAF EC-130E A/C Commander
CAPT Lyn D. McIntosh USAF EC-130E Pilot
CAPT Richard L. Bakke USAF EC-130E Navigator
CAPT Charles McMillian USAF EC-130E Navigator
TSGT Joel C. Mayo USAF EC-130E Flight Engineer
SSgt Dewey Johnson USMC RH-53D Crewmember
Sgt John D. Harvey USMC RH-53D Crewmember
Cpl George N. Holmes USMC RH-53D Crewmember



   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:19:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 19  
 
เครื่องบิน C–130 ที่เหลือพยายามที่จะนำเครื่องออกจากเหตุการณ์ พร้อมกับมีคำสั่ง “ทำลายอากาศยานและให้ถอนตัวออกจากอิหร่าน ขณะนั้นทั้งฝุ่นควันและความโกลาหลเกิดขึ้น
• คำสั่งให้ทำลายอากาศยาน” ไม่ถูกส่งไปถึงหน่วยที่รับผิดชอบ
• และยังมีผู้บาดเจ็บ ทหารที่กำลังนอนรอความช่วยเหลืออยู่อีก
ความขาดช่วงของคำสั่งในการทำลายเฮลิคอปเตอร์ ทำให้กองกำลังได้ทิ้งเฮลิคอปเตอร์ 5 ลำ และสำเนาแผนการต่าง ๆ ตกอยู่ในมือของทหารอิหร่าน ในวันถัดมาชาวอิหร่านที่เป็นสายลับคอยช่วยทหารอเมริกันส่วนใหญ่ถูกจับ
นายพล Admiral Thomas B. Hayward, Chief of Naval Operations ผบ.ทร.สหรัฐฯได้กล่าว ระหว่างการเดินทางกลับว่า

“เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาท่านประธานาธิบดี ได้ตัดสินใจอย่างกล้าหาญ ในการออกคำสั่งให้ทหารของเราลงมือ เข้าช่วยเหลือตัวประกัน แผนการช่วยเหลือที่พยายามจะช่วยชาวอเมริกันที่ถูกจับตัวอยู่นั้น มันไม่ใช่ภารกิจที่ปราศจากความเสี่ยงหรือความสูญเสีย ตรงกันข้ามมันเป็นภารกิจที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและขวากหนาม ถึงเวลาแล้วที่พวกเราได้จะร่วมกันแสดงความผิดหวัง ต่อการล้มเหลวของการปฏิบัติการที่เพิ่งจะผ่านไป แต่อย่าเพิ่งท้อแท้ เพราะหน้าที่ของเรา คือ การดำรงความพร้อมรบ รอคอยคำสั่ง โอกาส เวลาที่จะนำเพื่อนร่วมชาติกลับบ้าน หน้าที่ของเรา คือ ความพร้อมรบอยู่เสมอ"


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:21:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 20  
 
หลังจากการต่อรองเป็นเวลานานมาก ติดตามมาด้วยการเริ่มต้นการทำสงครามระหว่าง อิรัก – อิหร่าน ในวันที่ 19 ม.ค. 1981 นาย Christopher รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ลงนามเมื่อเวลา 3:35 ซึ่งเป็นนาทีสุดท้ายของเส้นตายในการ ”โอนเงินค่าไถ่” จากนั้นในวันถัดมา 20 ม.ค. ตัวประกันได้รับการปลดปล่อยตัวจากกรุงเตหะราน หลังจากถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง 444 วัน ประธานาธิบดี Carter ได้ออกจากทำเนียบขาว เดินทางไปเยอรมัน เพื่อรอรับการแสดงความยินดีต่อตัวประกันทั้งหมดใน 21 ม.ค.
บทเรียนแห่งความผิดพลาด
หลังความล้มเหลวของการปฏิบัติการ ประธานเสนาธิการทหาร JCS ของสหรัฐฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 6 คน เพื่อศึกษาบทเรียนต่อไป นำโดย นายพล Adm James L. Holloway III, ประเด็นสำคัญหลายประการ ที่คณะกรรมการได้หยิบยกขึ้นมาเป็นข้อสรุปคือ
1“การคัดเลือกนักบิน” นักบินของ ทร. และ นย. ที่เข้าร่วมมีประสบการณ์น้อยในการปฏิบัติการระยะไกลบนฝั่ง และการเติมน้ำมันจากเครื่องบิน C – 130 ทั้ง ๆ ที่ยังมีนักบินที่มีประสบการณ์สูงจาก ทอ.รออยู่เป็นตัวเลือก แต่ไม่ได้รับเลือก
2 การขาดความเข้าใจการประเมินสถานการณ์และการวางแผนการซักซ้อม จากจุดเริ่มการฝึกซ้อมมิได้กระทำในลักษณะ “ปฏิบัติการร่วม” อย่างแท้จริง การฝึกซ้อม ถูกแยกออกเป็นส่วน ๆ และการแยกซ้อมกระจายไปในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ
3 ข้อจำกัดหลายประการของการซ้อมย่อยถูกกระทำไป โดยการประเมินอย่างผิวเผิน เพียงบางส่วน ไม่ครอบคุมการปฏิบัติการทั้งหมด
4 จำนวนการใช้เฮลิคอปเตอร์ที่เข้าร่วม คณะกรรมการสรุปตอนหลังว่า ควรจะใช้ 10 – 12 ลำ เป็นอย่างน้อยในการปฏิบัติการ เพื่อที่เป็นหลักประกันว่า หลังจากเกิดปัณหาต่างๆ แล้ว ยังคงมีจำนวนเฮลิคอปเตอร์เหลืออยู่อีก 6 ลำเพื่อให้การปฏิบัติการ การดำเนินต่อไปได้
5 การใช้เฮลิคอปเตอร์เฮลิคอปเตอร์ RH – 53D ของทร.สหรัฐฯ เข้าแผนปฏิบัติการครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้การเติมน้ำมันบนพื้น แทนที่จะกระทำในอากาศ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบ CH-53 ของทอ.สหรัฐฯ อย่างที่เคยกระทำมาก่อน ในการบุก Son Tay ในเวียดนาม ซึ่งสามารถเติมน้ำมัน ได้ขณะบิน
6 หลีกเลี่ยงการบินเข้าไปในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย
แม้ว่าผลลัพธ์ของการปฏิบัติการได้ปรากฏออกมาเป็นความล้มเหลว และบอบช้ำ แต่การปฏิบัติการครั้งนี้ ได้เป็นบรรทัดฐานสำคัญของกองทหารอเมริกันอย่างยากที่จะลืมเลือน บทเรียนต่าง ๆ ที่ได้จากความล้มเหลว แสดงให้เห็นข้อบกพร่องที่ซ่อนอยู่ในขีดความสามารถของกองทัพสหรัฐฯ อย่างรุนแรง ความยากของภารกิจบังคับให้ผู้นำทางการเมืองและกองทัพ ยอมจำนวนต่อความบกพร่อง และยอมรับที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร การเปลี่ยนแปลงในเหล่าทัพ จะต้องเป็นการปฏิวัติทั้งกองทัพ ในลักษณะเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงภารกิจหลักเฉพาะของแต่ละเหล่าทัพไปสู่ ภารกิจการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ


   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 11:22:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 21  
 
ขอบคุณมากครับ อย่าลืมไปดูให้ได้นะครับหนังเรื่อง argo เบ็น เอ็ฟเฟ็คแสดง ดีมากๆเลยครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      khakai      5 ก.ย. 56   เวลา 11:29:00    IP = 223.207.251.87
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 22  
 
khakai สวัสดีครับพี่ มีคนมายืนยันอีกเสียงว่าดีพลาดไม่ได้แล้วครับหนังเรื่องนี้

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 12:04:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 23  
 

ที่ยังเข้าเว็ปนี้บ่อยๆ เพราะเข้ามาอ่านอันนี้แหละครับพี่

   Kill_Me_Now      5 ก.ย. 56   เวลา 13:56:00    IP = 49.48.132.157
 


  คำตอบที่ 24  
 
Kill_Me_Now ขอบคุณมากเลยครับ ที่ติดตามครับ

   สมาชิกแบบพิเศษ      top2513      5 ก.ย. 56   เวลา 14:04:00    IP = 125.26.46.165
สมาชิกแบบพิเศษ  
 


  คำตอบที่ 25  
 
อันดับ 6 และ 5 สลดที่สุดแล้วครับ

   ปราณ      5 ก.ย. 56   เวลา 20:36:00    IP = 125.27.5.5
 
 

Bigtone.in.th Online Music Store

Yamaha



ตั้งกระทู้ Login ก่อน Click ที่นี่
ผู้ตอบ :
รูปภาพ:  ( ไม่เกิน 150 K )
ข้อความ :
 

any comments, please e-mail   guitarthai@gmail.com (นายดู๋ดี๋)
© All rights reserved 1999 - 2015. All contents in this web site are the properties of www.guitarthai.com and Saratoon Suttaket