|
เคล็ดลับการมิกซ์เสียง 10 ประการ ที่ควรเรียนรู้และจดจำเพื่อนำไปปฏิบัติ บทที่ 1 ใช้แหล่งเสียง MONO ( Use MONO sound sources ) Use MONO Sound Sources Use MONO Sound Sources
บันทึกเสียงด้วย MONO ในการบันทึกคุณอาจคิดว่ามันไม่น่าตื่นตาตื่นใจเหมือน Surrond sound รอบทิศทาง หรืออาจสู้ Stereo แบบหมุน Panoramic ไม่ได้ ก่อนจะหาผลสรุปกับคำถามเหล่านั้น ถามตัวเองดูก่อนว่า อะไรคือ Sound sources เสียงที่ปล่อยออกมาในธรรมชาติอย่างแท้จริงในระบบเสียง Stereo คุณอาจจะฟังเสียงต่างๆรอบทิศหรือรอบตัวเอง จุดหนึ่งที่เราควรเรียนรู้คือแหล่งกำเนิดเสียงจริงคือ ออกจากจุดกำเนิดเพียงจุดเดียว MONO การบันทึกแหล่งที่มาของเสียงโดยใช้ Stereo มันจะทำให้เสียงจมอยู่ในโพรงในหลุม เกิดความยุ่งยากในการมิกซ์เสียงเป็นอย่างมาก ในทางกลับกันในการบันทึกแบบ MONO มันทำให้เสียงที่ได้ อิ่ม และเต็ม ฟังได้น้ำหนักกว่า Stereo ซึ่งเบามากหากเราบันทึกแบบนั้น ลองฟังเทียบกันดู ( ทดสอบบันทึกทั้งสองแบบ )
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
ลองบันทึกในระบบ Stereo แล้วปรับ ซ้าย ขวาดูแล้วฟังเทียบกับ MONO ลองบันทึกด้วย MONO แล้ววางไว้สองแทร็ก โดยให้ปรับแทร็กหนึ่ง Pan ซ้ายนิดหนึ่ง ส่วนอีกแทร็กหนึ่ง Pan ขวานิดหนึ่ง แล้วฟังเทียบดู วางเสียง MONO คุณจะสามารถเห็น phase กรองเอฟเฟคได้เป็นระยะๆ คุณสามารถแก้เสียงใดๆที่ขาดหายได้ง่าย เสียงที่ได้จาก MONO จะได้ความชัดเจนของเสียงมากกว่า Stereo และเคล็ดลับนี้คือเคล็ดลับที่ Sound Engineer ใช้ฆ่ามือสมัครเล่นมามากต่อมากแล้วครับ บทที่ 2 ผ่อนคลายหูให้อารมณ์แจ่มใสก่อนทำการมิกซ์ หู
การมิกซ์ติดต่อกันเป็นเวลานานเพียงเพื่อจะเร่งจบงานอย่างรวดเร็ว อาจทำให้หูเกิดอาการล้า แล้วจะเกิดความเพี้ยนในการรับรู้ทางประสาทหู หูแว่วบ้างละ หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งมันไม่เป็นผลดีกับงานของเราที่จะผลิตออกมา การที่จะทำให้งานมีคุณภาพนั้น อย่าหมกมุ่นกับงานให้มากโดยไม่รู้จักพักผ่อนหู นี่คือจุดอ่อนซึ่งใครหลายๆคนอาจคาดไม่ถึง ยิ่งเมื่อคุณกำลังพยายามฟังเสียง Synth หรือเครื่องดนตรีที่ครอบคลุมสเปกตรัมหลายความถี่ คุณยิ่งมิกซ์นานยิ่งเสียสมาธิไปกับการฟังความถี่ต่างๆทั้งความถี่สูง-กลาง-ต่ำ มันจะทำให้คุณสูญเสียมุมมองที่กว้างขึ้น อาจทำให้งานไร้คุณภาพ
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
อย่าใช้หูฟังนานเพราะจะทำให้หูล้า อย่าเปิด Moniter ดังมากให้เปิดมิกซ์เบาๆเท่ากับเสียงพูดก็พอแล้ว มิกซ์กับการอ้างอิง Reference กับงานอื่นๆ และกับเครื่องมืออื่นๆด้วย พยายามอ้างอิง Reference กับซีดีผลงานของมืออาชีพคนอื่นๆ หมายเหตุ การดูแลรักษาหูที่ดี คือการหลีกเลี่ยงการฟังเพลงเสียงดังๆ ซึ่งจะเป็นการทำลายประสาทหูอันอาจเกิดปัญหาหูเสื่อม หูอื้อ หูแว่ว จนถึงหูหนวก
บทที่ 3 อันดับแรกเริ่มมิกซโดยเข้าจัดการกับ Bass ร่วมกับ Drum Kick ก่อนสิ่งอื่นใด Bass Bass
อันดับแรกก่อนจะมิกซ์คือวาง Bass กับ Kick ไว้ที่กลางเวที ( Center Stage ) กฎนี้เป็นกฎตายตัวที่แทบจะทุกคนที่ต้องปฏิบัติ คุณจะมีความคิดสร้างสรรค์ในการส่ายเครื่องดนตรีชนิดอื่นไปซ้ายบ้าง ขวาบ้าง แต่เบสต้องอยู่กลางร่วมกับกลองเตะ Kick คุณลองคิดดูซิครับว่า หากเบสไปดังอยู่ข้างเดียว อาจจะซ้ายหรือขวา มันจะทำให้รู้สึกว่้า เพลงนั้นมิกซ์มาไม่ Balance กันเลย
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
วางเบสไว้ที่จุดศูนย์กลางร่วมกับกลองเตะ Kick ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปจัดการกับส่วนอื่นๆของบทเพลง
Drum-Kick Drum Kick
บทที่ 4 ใช้ EQ ตัดความถี่ออก ( ไม่เพิ่มความถี่ ) EQ EQ
EQ เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก และเข้าใจไปในทางเดียวว่าเป็นตัวปรับแต่งความถี่ คนที่เล่นเครื่องเสียงส่วนมากจะใช้ EQ ไปในทางเร่งเสียงสูงเสียงต่ำกับความถี่ที่ชื่นชอบ เช่นคนนี้ชอบเสียงเบสเป็นพิเศษ ก็จะเร่ง Boost ที่ความถี่ต่ำขึ้นมาเพื่อให้เสียงเบสดังขึ้น แต่ในหลักความเป็นจริง Sound Engineer ที่ทำงานในงานสตูดิโอจะใช้ EQ เพื่อตัดความถี่ มิใช่เพื่อ Boost อย่างที่คนทั่วไปใช้กัน แม้แต่ Sound Engineer ในภาคสนาม ( live ) ก็ใช้ตัดความถี่เช่นกัน ผมเคยพูดคุยกับพี่มอญซึ่งเป็น Sound Engineer ของพี สะเดิด ตอนที่มาคุมงานคอนเสิร์ตของไผ่ พงศธร ที่อ.พยัคฆภูมิพิสัย เล่าให้ฟังว่า แกใช้ EQ 32 Band เพียงแค่ Cut เอาความถี่ที่เกิดเสียง Hum ออกเพื่อทำให้ ไมโครโฟน ไม่หอน ( ภาษาบ้านเรา ) พี่มอญแกสามารถ Control ได้อยู่หมัดเลยครับ โปรดจำไว้เลยครับว่า EQ โดยพื้นฐานแล้วเป็นตัวกรองความถี่ Filter และขอแนะนำการประยุกต์ใช้เพื่อเสียงสะท้อน Resonance กับการขยับของเฟส phase-shifting ที่จุด cut-off เพียงเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วนี้ การตัด Cut คือตัวเลือกที่ต้องการ ไม่ใช่การ Boost นะครับ การใช้ EQ ในงานสตูดิโอควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะมันเป็นกับดักง่ายๆซึ่งใครหลายคนก็คาดไม่ถึง ใช้มากเกินความจำเป็นอาจเป็นเหมือนดาบสองคม ที่ให้ทั้งคุณและโทษ หรืออาจมีผลทำให้เครื่องดนตรีชนิดนั้นเปลี่ยนเสียงไปเลยก็ได้ ( ยกเว้นการจงใจเพื่อเปลี่ยนเสียงเพื่อให้บรรลุในทางความคิดสร้างสรรค์ )
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
Sound Engineer ในสตูดิโอเขาจะใช้ EQ เพื่อ Cut ตัดความถี่ที่ไม่จำเป็นออกเพื่อพื้นที่โดยรวมจะได้มีพื้นที่เพื่อใส่ให้กับเครื่องดนตรีประเภทอื่น หรือ เพื่อการกำจัดเสียง Hum หรือความถี่ที่ไม่พึงประสงค์ และการใช้เพื่อการบิดเบือนเฟส แต่ไม่ได้ใช้เหมือนกับคนที่เล่นเครื่องเสียงนะครับ คือใช้เพื่อเพิ่มหรือ Boost ความถี่ที่ชื่นชอบให้ดังสะใจตัวเอง ที่ขอให้ดังไว้ก่อนเพื่อให้ข้างบ้านเขาด่าเล่น สรุปสั้นๆคือ EQ ใช้เพื่อแก้ปัญหาในงานสตูดิโอ ไม่ได้ใช้เพื่อสนองตัญหาความชื่นชอบส่วนตัวนะครับ
บทที่ 5 Masking ความถี่เพื่อวางกำบังความถี่ Masking Masking
ที่จริงในหัวข้อนี้ก็คือการหลีกเลี่ยงการปะทะความถี่กัน ของนักร้องกับเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ในส่วนต่างของบทเพลงในช่วงความถี่ใดความถี่หนึ่งอาจจะมีทั้งเสียงร้อง หรืออาจจะเป็นความถี่ของเครื่องดนตรีสองชนิด ( หรืออาจจะมากกว่า ) อาจจะเกิดการโจมตีกันและกันหรือต่อสู้กันในพื้นที่ของบทเพลง ซึ่งจะทำให้เราฟังไม้รู้เรื่อง และนี่อาจเป็นปัญหาที่พบมากที่สุดของการ Mix เสียงเลยก็ว่าได้ โดยทั่วไปเสียงอาจจะมี ( นอกจากเสียงหลัก ) เสียงฮาร์โมนิคอื่นๆ ที่นำไปสู่การตกต่ำของเสียงในภาพรวม ถ้าสองเสียงร่วมความถี่ที่คล้ายกันอยู่ในบางส่วนหรือบางพื้นที่ในเพลงเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้จะต้องทำกำบังความถี่ในการ Mix นั่นหมายความว่าเสียงของเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน แต่ความถี่เดียวกัน ต้องทำการแยกทั้งสองออกจากกัน
Analyse Analyse
การทดสอบ
นอกเหนือจากอาศัยหูของคุณ คุณอาจใช้เครื่องมือประเภท Analyse เช่น Waves PAZ Analyzer เพื่อดูกราฟความถี่ Peak ในส่วนยอดแหลมๆของของกราฟในเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ แต่ถ้าหากไม่มีเครื่องมือประเภทที่ว่านี้ คุณก็ต้องใช้หูของคุณเองละครับ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น และนี่คือเคล็ดลับในการใช้หูฟังเพื่อเช็คดู หากคุณไม่แน่ใจว่าเพลงของคุณมีกำบังคลื่นความถี่ใดที่เกิดขึ้น ขอแนะนำมีดังนี้ครับ
ลองฟังในการ Mix แบบโมโนแทร็ก ตามหัวข้อที่กล่าวเอาไว้ในบทแรกเรื่องการใช้ Mono ในการบันทึก ระดับของเครื่องดนตรีแต่ละแทร็กแม้แต่นักร้องต้องตั้งไว้ที่ (0dB) แล้ว Pan กวาดไปทางซ้าย ขวา แล้วฟังดูเพื่อหาความชัดเจนของเสียงประเภทต่างๆ
ความถี่ ความถี่
การแก้ไขปัญหา
การประณีประนอมในความถี่ที่ชนกันในบางช่วงของบทเพลงถือเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุด ดังนั้นเราต้องหันมาพิจารณาทางเลือกที่มีไม่กี่ตัวเลือกเพื่อพิจารณาสิ่งที่ดีที่สุด
Masking Frequency Masking Frequency
อันดับแรกก็คือลองใช้เสียงแบบโมโนแล้วปรับส่ายไปมาทั้งซ้ายและขวาเพื่อไม่ให้ความถี่ปะทะกันที่จุดใดจุดหนึ่ง อะไรเป็นเสียงที่สำคัญที่สุด จงให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เช่นเสียงนักร้อง ให้กรองเสียงร้องกับ EQ ก่อน จึงทำกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆถ้าจำเป็น เครื่องดนตรีความถี่เดียวกันก็หันไปใช้พื้นที่ส่วนอื่นๆในเพลง เช่นอาจจะสลับช่วงกันไม่ให้เล่นพร้อมกัน เป็นต้น ถ้าปฏิเสธใช้เครื่องดนตรีมากชิ้นจะเป็นการดี แต่บางครั้งก็เลือกยาก ถ้าคุณตกอยู่ในสถานะการณ์นี้ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นนี้ ให้พึงโปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่าคนป่วยบางครั้งจำเป็นต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ให้อยู่รอด เช่นกันบางครั้งถ้าถึงทางตันก็ต้องเลือกที่จะตัดเสียงดนตรีชิ้นนั้นๆออกไปเลย เพื่อผลโดยรวมที่ออกมาดีที่สุด คุณก็ควรที่จะตัดเครื่องดนตรีชิ้นนั้นทิ้งเสียเลย เพื่อเพลงของคุณจะได้ไม่รกรุงรัง ไปด้วยเครื่องดนตรี
Mask Frequency Mask Frequency
บทที่ 6 EQ กับ Volume EQ and Volume EQ and Volume
เคยมีรุ่นพี่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าก่อนมิกซ์ควรตั้งค่า Volume ของอุปกรณ์ทุกแทร็กไว้ที่ 0dB ไม่ว่าจะเป็น นักร้อง ,เบส , กีต้าร์ ,คีบอร์ด, ฯลฯ ควรตั้ง 0dB ให้หมด แล้วมาฟังว่าสัญญาณเสียงใดอ่อน เราค่อยเพิ่ม สัญญาณเสียงใดดังมากไปค่อยลดตัวนั้น แต่บทนี้เราจะเน้นที่ลดไม่เน้นเพิ่ม แรกเริ่มก่อนจะใช้งานใดๆเกี่ยวกับ EQ หรือ Effect อื่น คุณต้องตั้งค่าปริมาณความสัมพันธ์ของ Volume ในแต่ละอุปกรณ์และลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ในเพลงอย่างง่ายๆไว้ก่อน ถ้าคุณต้องไปยุ่งกับ EQ หรือ Effect อื่น โปรดจำไว้ว่าการปรับเปลี่ยนจะมีผลกระทบกับปริมาณต่างๆในแหล่งกำเนิดเสียงที่เราบันทึกไว้ ถ้าคุณเพิ่มหรือลดปริมาณเสียงหลัก main volume level สำหรับอุปกรณ์ที่คล้ายกัน พิจารณาลดความถี่พื้นที่ใดที่หนึ่งของเครื่องดนตรีสำหรับเอกลักษณ์ของ Sound อุปกรณ์นั้นๆ สามารถ Boost สัญญาณเพิ่มประสิทธิภาพ ในฐานะที่เป็น Volume โดยอนุโลม หากคุณ Boost อะไรก็ตามเกิน 5 เดซิเบล อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีจนอาจทำให้คุณต้องบันทึกเสียงใหม่ อย่าใช้ effects เพื่อ boost volumes โดยเฉพาะกับการ compression (การบีบอัด) สัญญาณอินพุทควรจะเป็นเช่นเดียวกับเอ้าท์พุท เช่น Compressor ของคุณ อย่าลืมว่าการบีบอัด compression คือการควบคุม dynamics ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงเป็นหลักการที่ว่า ทำไมคุณควรให้ความใส่ใจไปที่การตัด Cut แทนที่จะ Boost ในส่วนที่เป็นไปได้ เพราะถ้าคุณผ่านขั้นตอนของการเริ่มต้นในการตั้งค่าความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทตามที่อธิบายไว้ในวรรคแรกๆ สุดท้ายอย่าลืมว่าความคมชัดในขณะที่เล่นเพลงถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งใน Volume การมิกซ์ที่ดีควรปรับ Volume ที่ 0dB หรือให้ลดไว้ก่อนเพื่อทีจะเหลือพื้นที่ไว้สำหรับการทำMastering
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
Volume ควรตั้งไว้ที่ 0dB อย่าเพิ่มโดยการBoostสัญญาณ เพื่อที่จะเหลือพื้นที่ไว้ตอนทำ Mastering สำหรับในส่วนของ EQ หรือ Effect การBoostสัญญาณขึ้นเปรียบได้กับการเพิ่มVolumeไปในตัว สำหรับส่วนนี้จึงอยากให้เน้นที่การ Cutเป็นส่วนใหญ่ หากเราทำการเพิ่มสัญญาณใดๆเกิน5dBขึ้นไป อาจทำให้แหล่งกำเนิดเสียงในแทร็กนั้นเสียหายได้ คุณภาพจะต่ำมากจนอาจต้องบันทึกใหม่ ถ้าเรามิกซ์เสียงด้วยการอัดVolumeซะเต็มMaxเลย ก็จะทำให้เรายุ่งยากและปวดหัวเอามากๆตอนที่เราทำมาสเตอร์ จนบางครั้งอาจจะต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ สรุปแบบสั้นๆให้เข้าใจพอสังเขป อย่ามิกซ์ให้ดังจนเกินไป คุณไม่ต้องกลัวหรอกว่าเพลงคุณจะดังสู้ชาวบ้านเขาไม่ได้ เพราะมันยังเหลือขั้นตอนการทำมาสเตอร์อยู่ ซึ่งเราสมารถไปเพิ่มเอาตอนนั้นก็ยังได้
EQ and Volume EQ and Volume
บทที่ 7 ผสม Effect Effect Effect
การผสม Effect ลงไปในขั้นตอนการ Mix เมื่อพูดถึง Effect จริงๆแล้วถือเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว แต่โชคดีที่เราสามารถจัดการกับมันได้อย่างง่ายดายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการ Mix เสียง ทำไมนะรึ คำตอบก็คือ Effect คือความสนุกเมื่อเราปรับแต่งมัน มันสามารถสร้างสรรค์จินตนาการได้อย่างมากมาย การผสม Effect ไม่ว่าจะเป็น Reverbs กับ Delays สำหรับบางกรณี สามารถบังเกิดผล over-staying กับเครื่องมือ โดยเฉพาะถ้าผสมลงไปเยอะๆลงไปหลายๆตัว ถ้าเลยความพอดี มันจะทำให้บทเพลงสูญเสียความละเอียดและความคมชัดถ้าเราไม่ระวัง อย่าลืมว่า contrast ความคมชัดจะหายไปเมื่อเราใช้ Effect มากเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องใส่แบบตะบี้ตะบันจนไม่เหลือช่องโหว่ในการมิกซ์กับเอฟเฟค ถ้าหากคุณใช้ Effect เพื่อทำให้เสียงดนตรีส่วนนั้นดีขึ้นควรใช้พอประมาณ เปรียบเทียบกับอาหาร Effect คือผงชูรสให้อาหารใส่น้อยๆก็อร่อย หากใส่มากเกินไปก็เลี่ยน ไม่น่ากิน กินเข้าไปก็อ๊วก.ยกตัวอย่างเช่น Reverbs ใส่ในแทร็กเสียงร้อง หากใส่มากไปจะทำให้เสียงร้องบางมาก เหมือนนักร้องยืนร้องอยู่หลังเวทีโน้น
ข้อแนะนำในบทนี้คือ
ถ้าอยากใช้ Effect เคล็ดลับในเชิงลึกในการใช้งาน Effect เพื่อคุณภาพของงานให้ออกมาดีที่สุด ข้อ 1.เมื่อปรับ Effect แล้วโดยทั่วไป ควรปิดเสียง เปิดเสียง Effect โดยใช้ Bypass เพื่อฟังทดสอบตอนใช้งานกับตอนไม่ได้ใช้งาน ข้อ 2.หลีกเลี่ยงการใช้ Effectกับเครื่องดนตรีทุกชิ้น หากใช้บ่อยๆไม่ควรเกิน 1 หรือ 2 ถ้าจำเป็น ข้อ 3.การใช้Effectในรูปแบบที่น่าทึ่งนั้นเหมือนละครน้ำเน่าประเภท Drama ถ้าจะใช้มันจริงก็คือใช้เท่าที่จำเป็นและใช้ในห้วงระยะเวลาสั้นๆเอาเฉพาะเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่านั้น สรุปสั้นๆใช้มันให้เหมือนผงชูรสที่ผสมในอาหารนั่นแหละครับ
Effect ของ Lexicon Effect ของ Lexicon
บทที่ 8 Gating Compression Reverb Gate Gate
Gate-Compression-Reverb บทนี้เราจะมาว่ากันเรื่อง Gate (ประตูเสียง) Compression (การบีบอัด) Reverb (เสียงก้องกังวาน) การจัดวางลำดับก่อนหลังทั้งสามตัวควรวางตามตำแหน่งที่กล่าวมาแล้วนั้น Gate จะใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสัญญาณรบกวนต่ำ(noise)ในปริมาณที่ไม่พึงประสงค์ หรืออาจจะเป็นเสียงRoom ของห้อง Gate จะทำหน้าที่ปิดGab ช่องว่างระหว่างเสียง อันดับแรกก่อนที่คุณจะใช้ Gate ขอให้พิจารณาใส่ใจในรายละเอียดของหัวข้อต่อไปนี้ก่อนครับ *เราใช้จัดการเสียง noise ที่ไม่พึงประสงค์ *การรบกวนของคลื่นวิทยุ *เสียงสไลด์นิ้วบนคอกีต้าร์ * เสียงลมหายใจของนักร้อง * หางเสียงที่เป็นธรรมชาติจะหายไป ดังนั้นคุณควรคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจใช้ Gate เพื่อจัดการกับเสียงเหล่านั้น และนี่จึงเป็นที่มาขอหัวข้อที่ว่า ให้หลีกเลี่ยงการใช้ Gate ในการบันทึก ความไม่แน่นอนของเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขณะกำลังบันทึกเสียง เสียงของนักร้องบางครั้งเล่นลากหางเสียงให้ยาวหรือเอื้อนเสียง การตั้ง Gate ในระหว่างการบันทึกสามารถสร้างความเสียหายในขั้นตอนการ Mix ได้ หากจะใช้ Gate จริงๆให้ใช้ตอนที่บันทึกเสียงเรียบร้อยออกมาแล้ว มันจะทำให้เรามีความยืดหยุ่นในการที่จะจัดการกับหางเสียงได้อย่างไม่ห้วนสั้นจนเกินไป ดีกว่าที่เราจะมานั่งบันทึกใหม่อีกหากเราใช้ Gate ตอนขณะที่บันทึกอาจได้หางเสียงไม่เต็มที่ นี่แหละคือเคล็ดลับสำคัญของการใช้ Gate ข้อต่อไปคือ ใช้ Gate ก่อน Compresor ทำไมจึงต้องเป็นอย่างนั้น ก็เพราะการบีบอัดจะช่วยเพิ่มเสียงที่สงบ เพิ่มจนเห็นเสียงที่ชัดเจนขึ้น จะเป็นการดีที่สุดเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเพิ่มเสียงในระดับต่ำที่ไม่พึงประสงค์ ด้วยการวางประตูเสียง Gate เอาไว้ก่อนหน้า Compressor ซึ่งจะทำให้ปัญหาที่กล่าวมานั้น ไม่เกิดขึ้น หัวข้อต่อไปคือ
Reverb Reverb
การวาง Gate ก่อน Reverb ขึ้นหัวข้อจั่วไว้อย่างนี้เพราะว่า คุณคงไม่ต้องการให้หางเสียงสะท้อน Reverb ตามธรรมชาติขาดหายไปใช่ไหมครับ แน่นอนเลยทีเดียวถ้าหากคุณวางGate ไว้หลัง Reverb สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ตามที่กล่าวมาข้างต้นคงต้องเกิดขึ้นแน่นอน หางเสียงสะท้อนจาก Reveb จะขาดหายเนื่องจากวาง Gate เอาไว้หลัง Reverb แต่โลกใบนี้ไม่มีกฎตายตัวครับ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการใส่ Reverb กับกลองเตะ Kick การที่เราจะปล่อยให้เสียงกลองเตะมีหางเสียงยาวๆแบบนั้นมันคงดูไม่น่าฟัง มันจะฟังเหมือนหนังกลองใบนั้นยาน ก็จำเป็นต้องเอา Gate มาวางปิดเสียงไว้ข้างหลัง Reverb อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ถือว่าเป็นศิลปะการใช้เครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากจำเป็นก็ต้องแหกกฎบ้าง จริงไหมครับ มีเคล็ดลับอีกนิดหนึ่งก่อนที่เราจะข้ามเรื่องกลองไปในส่วนของ Gate นั้นให้คุณลองตั้งค่าช่วง 12dB สำหรับการเปิด Gate อย่างรวดเร็ว
สรุปข้อแนะนำในหัวข้อนี้คือ
ไม่มีกฏตายตัวว่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วจะอย่างไรก็ดีการวาง Position ของเครื่องมือต่างๆก็ยังคงถือหลักใช้ตามนี้ ส่วนจะพลิกแพลงนอกเหนือจากนี้ก็ทำได้ไม่ว่ากัน ซึ่งก็แล้วแต่ความช่ำชองและประสบการณ์ของ Sound Engineer ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากเครื่องมือต่างๆนี้อย่างไร ใช้ทำหน้าที่อะไร และต้องวางอย่างไร กฏมีไว้ให้แหก แต่ก็ควรแหกอย่างมีศิลปะ เท่านั้นเองครับ
บทที่ 9 Even More Volume Even More Volume Even More Volume
มีความถี่ในการ Mix บางส่วนที่มีความซ้ำซ้อนกันมากเกินไปและมันทำให้ลำโพงไม่สามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เต็มที่ แต่ถ้าเราสามารถเรียกคืนทรัพยากรเหล่านี้อย่างง่ายๆ ลำโพงก็จะมุ่งจดจ่อปลดปล่อยพลังงานของตัวมันเองลงไปในความถี่ที่สำคัญๆ ดังนั้นเราก็จะได้ headroom เพิ่มเติม กล่าวคือได้ปริมาณมากขึ้น (More Volume) แต่กระนั้น พื้นฐานของลำโพงส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำซ้ำความถี่บางอย่าง อย่างเช่นถ้ากำลังปล่อยความถี่ปัจจุบันโดยลำโพงกำลังมีภาระผูกพันปลดปล่อยเสียงอยู่แล้วยังพยายามจะปล่อยความถี่อื่นที่ซ้ำๆจะทำให้เกิดการสูญเสียแบนด์วิดธ์ bandwidth การผสม Mix Volume โดยรวมก็จะลดต่ำลงทั้งหมด เพื่อเป็นการลดภาระให้ลำโพงไม่ทำงานหนัก ขอให้จัดการกับเบสก่อนโดย ฆ่าเบสที่ดังก้อง ให้นำเอา high-pass filter กรองเพื่อกำจัดเอาความถี่ที่ต่ำกว่า 40 Hz.ออก บางความเห็นน่าจะ 30-50 Hz. ถ้า 30Hz. ค่อนข้างต่ำ แต่ระบบ PA ทั่วไปในปัจจุบันสามารถปล่อยพลังความถี่นี้ออกมาได้ ถ้าคุณจะคงความถี่นี้ไว้เพื่อเอาสภาพแวดล้อมเข้าไปผสมในเพลงด้วยคุณก็เอาไว้ได้ หากคิดว่ามันจำเป็น หูมนุษย์นั้นรับความถี่ได้จาก 20Hz.-20kHz. ความถี่ที่ต่ำกว่า 80Hz.ลงมามันจะทำให้สิ่งของรอบๆกายเราเกิดแรงกระเพื่อม ถ้าตั้งแก้วน้ำไว้จะเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าถามว่า ความถี่ต่ำลงมาขนาดนี้มีโน้ตในเครื่องดนตรีหรือไม่ ไม่เลยครับ มันเป็นเสียง Ambient มากกว่า แต่ก็มีข้อยกเว้นเช่นกันครับ ไม่มีกฎตายตัวอีกเช่นเคย เพลงบางสไตล์เขาก็ต้องการความถี่ต่ำอย่างเช่น เพลงแด็นซ์ Hiphop เหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากความถี่ต่ำเพื่อขับลำโพงประเภทซัปวูฟเฟอร์ ยิ่งต่ำยิ่งดี เน้นเบสกระแทกอกไว้ก่อน ส่วนความถี่ระดับกลางและความถี่สูง Mid and High-Frequency Range นี่ถือว่าภาคผนวกสำหรับการพิจารณาของคุณในบทนี้ เครื่องมือหรือ Instruments บางตัว อาจเปล่งความถี่ที่ไม่จำเป็นในการ Mix ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจมี Instruments ( A ) ยึดครองพื้นที่ Mid range ซึ่งมีปลายความถี่ต่ำซึ่งไม่เคยได้ยินในการ Mix แต่กระนั้น ก็ยังคงใช้พลังงานในการตัดพื้นที่เสียงเบสดังกล่าว เปรียบเสมือนกับองค์ประกอบที่สำคัญของความถี่ใน Track ของคุณด้วย ความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายที่ดีที่สุดคือ ไปพักผ่อนซัก 2 -3 วันเพื่อพักหูแล้วกลับมายืนที่จุดนี้ใหม่อีกครั้ง ผมเองก็รู้ว่าการเป็นนักดนตรีนั้น เราชอบที่จะให้ได้ยินเสียงดนตรีแบบ Full Dynamic เต็มอิ่มกับการผสมทุกอย่างลงไป เมื่อเราปรับแต่งอิมเมจระยะพื้นเวที เราจะต้องใช้หูฟังอย่างมีสมาธิคนเดียว ความเป็นธรรมชาติ คือบริบทที่เราจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกของการ Mix เช่นนักดนตรีแต่ละคนอยู่ตรงไหน และจงอย่าลืมว่าการ Mix ในบางช่วงความถี่เหล่านั้น อาจทำให้เรา ( เบลอ ) โดยเฉพาะพวก Instruments ต่างๆ บางครั้ง Instruments เหล่านั้นก็ไม่จำเป็นในบทเพลง มันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะ Mix ให้จบงานได้เร็วๆเป็นการย่นระยะเวลาเพียงแค่เอาออก หรือหากจะใช้ Instrumentsเหล่านั้น ก็ให้พิจารณาใช้ตัวกรอง Filter เพื่อลบความถี่ที่ไม่จำเป็นในการ Mix ภาพข้างล่างเป็นการอธิบายความถี่ของเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ
Frequency Ranges Frequency Ranges
บทที่ 10 Mixing with Headphones หูฟัง หูฟัง
การผสมกับหูฟัง ฟังดูแล้วฟังออกมาไพเราะมาก แต่พอเอามาเป็นฟังกับเครื่องเสียงกลับฟังไม่ได้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? นี่คือเทคนิคสุดท้าย เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ดั่งหัวข้อที่ว่าเอาไว้ การ Mix กับหูฟัง ? อย่าทำเป็นอันขาด ! ถ้าคุณไม่เคยทดสอบ ! Headphones หรือที่เราเรียกกันว่าหูฟัง วันนี้มาในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบเปิด แบบกึ่งปิดกึ่งเปิด (สตูดิโอ) ฯลฯ แต่ละแบบมีการใช้งานต่างกันไปแต่ไม่ใช่สำหรับการ Mix หนึ่งในปัญหาสำคัญที่คุณจะต้องพบในการมิกซ์คือ การส่าย Pan สมมุติว่าคุณต้องการที่จะ Pan ส่าย Hi-hat กวาดไปทางซ้าย เมื่อมีการกระทำดั่งเช่นที่ว่านั้นแล้วคุณลด Fader ลงเพื่อให้มันฟังดูว่าไกลออกไปในการมิกซ์ หลังจากนั้นสองสามชั่วโมงต่อมาคุณกลับมานั่งมิกซ์โดยฟังผ่านลำโพง Monitor คุณกลับไม่สามารถได้ยินเสียง Hi-hat กับหูฟังคุณจะเห็นเสียงอย่างชัดเจนเข้าถึงโสตประสาทโดยลำโพงขนาดเล็ก ได้ยินดังชัดเจนทุกช่วงความถี่ที่สำคัญแม้ช่วงความถี่ที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับความถี่ช่วงเสียงเบส (ลำโพงหูฟังเล็กมากจนตอบสนองย่านนี้ไม่ได้ดีนัก) นอกเหนือจากนี้การใช้หูฟังก็มีเป็นบางจุดบางประเด็นที่ต้องศึกษา หูฟังจะมีประโยชน์มากจริงๆเมื่อเราเอามาใช้สำหรับการซูม Zoom in ในการแก้ไขปัญหาส่วนประกอบของธรรมชาติ (เสียง Room) เช่นจับเสียง Ambience (บรรยากาศ)หรือเสียงที่ยากจะได้ยินที่มาจากการบันทึกเสียง หรือ out-of-tune (or out-of-time) notes เพียงแต่ต้องระลึกไว้ว่าจะต้องถอดหูฟังทันทีหลังจากที่ไม่ได้ใช้ปรับระดับlevels กับการมิกซ์
สรุปหัวข้อสุดท้ายนี้คือ
ใช้หูฟังเฉพาะเพียงเพื่อฟังจับเสียงที่ยากต่อการได้ยิน เพื่อที่เราจะได้กำจัดเสียงเหล่านั้นออกไปจากบทเพลง แต่อย่าใช้หูฟังเพื่อการมิกซ์เพลงเพราะเราจะได้ยินเสียงประเภท Hi-hat ดังชัดเป็นพิเศษ ส่วนเสียงเบสในย่านความถี่ต่ำเราจะไม่ค่อยไ้ด้รับความถี่นี้เต็มที่เพราะโครงสร้างของลำโพงหูฟังไม่สามารถตอบสนองความถี่เสียงเบสได้ดี
Bye
สุดท้ายก่อนจบ ขอฝากเทคนิคต่างๆเหล่านี้ ซึ่งเป็นเกล็ดเล็กน้อยที่ผ่านประสบการณ์การทดลอง-ทดสอบจนเอามาเล่าสู่กันฟัง อย่างไรก็ดีการฝึกฝนตนเองต่างหากจะช่วยให้พัฒนาทักษะต่างๆให้รุดหน้าจนสามารถผลักดันตัวเองให้ก้าวขึ้นไปสู่มืออาชีพต่อไปในอนาคต
anan-58
8 ส.ค. 58
เวลา 23:30:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 171.7.60.17
|
|
|