|
|
|
|
|
ถามผู้รู้เรื่องลิขสิทธิ์เพลงเก่าช่วยตอบที |
|
|
|
|
|
เรานำเพลงเ่ก่าสากลยุค 60-70 มาทำแบ็คกิ้งแทรกแล้วนำใช้เล่น ใช้ร้องเอง นี่ผิดลิขสิทธิ์ไหม เห็นว่าเพลงเก่าเกิน 30 ปีตกเป็นสาธารณะแล้วก็ยังเห็นพวกเก็บลิขสิทธ์มาเก็บตามร้านอาหารอีก มันเป็นไงกันอยากรู้ข้อเท็จจริง
billy
22 ม.ค. 59
เวลา 15:51:00
พิมพ์
แจ้งลบ IP = 203.156.162.177
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 2
|
|
|
การนำเพลงของศิลปินมาร้องใหม่ อัดคลิปและอัพโหลดลงโซเชียลมีเดีย ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การคัฟเวอร์เพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ต้องติดต่อไปยังค่ายเพลงเพื่อขอใช้สิทธิ์ เพลง เป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ผู้ใดนำเพลง มาทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่สู่สาธารณะชน ย่อมถือเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้น การร้องเพลงคัฟเวอร์ ถ่ายวีดีโอ และนำไปเผยแพร่ จึงเป็นทั้งการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่สู่สาธารณะชนซึ่งเพลงอันเป็นลิขสิทธิ์ของศิลปินหรือค่ายเพลง ผู้คัฟเวอร์จึงมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 คลิปของฉัน #ลิขสิทธิ์ของฉัน คลิปคัฟเวอร์ที่เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียมีหลายลักษณะ บางคลิปเป็นการถ่ายวีดีโอขณะตนกำลังเล่นดนตรีและร้องเพลงในห้อง บางคลิปถ่ายในห้องอัดเสียง บางคลิปถ่ายนอกสถานที่ ไล่ระดับไปเรื่อยๆ จนบางคลิปถึงขั้นมีการตัดต่อใส่เรื่องราวคล้ายเป็นมิวสิกวีดีโอขึ้นมาใหม่ ซึ่งทุกๆ คลิป จะมีสิ่งที่เหมือนกันก็คือ คลิปนั้นๆ ผู้คัฟเวอร์เป็นผู้ขับร้อง ถ่ายทำ รวมถึงตัดต่อขึ้นมาเอง แต่รู้หรือไม่ คลิปนั้นไม่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้คัฟเวอร์! เงื่อนไขหนึ่งของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ คือ การริเริ่มด้วยตนเอง (Originality) ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง โดยไม่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงขึ้นมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น แม้คุณจะขับร้องด้วยเสียงของคุณเอง หรือคุณเป็นผู้เรียบเรียงดนตรีใหม่ ถ่ายทำและตัดต่อคลิปคัฟเวอร์ขึ้นด้วยฝีมือของคุณเอง แต่ในเมื่อเพลงที่นำมาร้องเป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่นซึ่งคุณไม่ได้รับอนุญาตให้นำมาคัฟเวอร์แล้ว คลิปนั้นก็ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของคุณอยู่ดี คัฟเวอร์เพลงอย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์ การคัฟเวอร์เพลงให้ถูกลิขสิทธิ์ ผู้คัฟเวอร์จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนั้นๆ ก่อน โดยต้องเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิพร้อมทั้งจ่ายค่าสิทธิให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งตามนโยบายทั่วไปของค่ายเพลงในประเทศไทย ศิลปินและนักแต่งเพลงจะทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์ให้ค่ายเพลงโดยได้รับค่าตอบแทน ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงได้แก่ ค่ายเพลง การคัฟเวอร์เพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์จึงเริ่มจากการตรวจสอบว่าเพลงที่ต้องการคัฟเวอร์อยู่ในสังกัดของค่ายเพลงใด จากนั้นให้ติดต่อไปยังค่ายเพลงนั้น สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิและค่าสิทธิ และเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและชำระค่าสิทธิแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยแต่ละค่ายเพลงก็จะมีนโยบายการอนุญาตให้ใช้สิทธิต่างกันไป ทำไมคลิปคัฟเวอร์เพลงยังมีอยู่มากมายบน YouTube ถึงแม้ว่าการคัฟเวอร์จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของค่ายเพลงหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่คลิปคัฟเวอร์ก็ยังคงปรากฏอยู่มากมายบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะเว็บไซต์ YouTube สาเหตุหลักมาจากเหตุผลทางการตลาด การมีผู้คัฟเวอร์เพลงหลายรายบ่งบอกได้ว่าเพลงนั้นเป็นที่นิยมมาก และยิ่งมีคลิปคัฟเวอร์มาก ก็จะเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์และกระตุ้นยอดขายของค่ายเพลงให้ดีขึ้นได้ด้วย นอกจากนี้ YouTube มีระบบ Content ID ซึ่งเป็นบริการสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเลือกให้จัดการกับวีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของตน โดยเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเลือกบล็อกวิดีโอไม่ให้สามารถดูได้ (Block) ปิดเสียงที่ตรงกับดนตรีของเจ้าของลิขสิทธิ์ (Mute) หรือ สร้างรายได้จากวิดีโอโดยการเล่นโฆษณาบนวิดีโอ (Monetize) คลิปคัฟเวอร์จึงเป็นหนทางสร้างรายได้ให้แก่ค่ายเพลงอีกทางหนึ่ง แม้การคัฟเวอร์จะเป็นผลดีแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในแง่การตลาดและการสร้างรายได้ค่าโฆษณาผ่านระบบของ YouTube แต่ผู้เขียนย้ำขอให้นักร้องคัฟเวอร์ทั้งหลายอย่างลืมว่า การคัฟเวอร์เพลงยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิอยู่เช่นเดิม หากเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการจะฟ้องร้อง เค้าย่อมใช้สิทธิของเค้าได้ ดังนั้น ควรทำให้การคัฟเวอร์ของคุณถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์โดยการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 ระบุว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15(5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ (1)ทำซ้ำหรือดัดแปลง (2)เผยแพร่ต่อสาธารณชน ด้านกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบายเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ในส่วนของคำถาม-คำตอบ ประเด็นที่สำคัญมีดังนี้
ข้อ 1. งานงานลิขสิทธิ์ คืออะไร งานลิขสิทธิ์มี 9 ประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ข้อ 5. การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษตามกฎหมายอย่างไร การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี และเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญา เช่น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และหากทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่100,000-800,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อ 7. การดัดแปลงผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ การดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากที่เว็บไซต์วอยซ์ทีวีนำเสนอข่าวนี้ มีเพจดังในโลกออนไลน์ได้นำข่าวไปเผยแพร่ต่อทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก โดยหนึ่งในผู้ที่เข้ามาแสดงความเห็น คือ แอดมินเพจ 'กรมทรัพย์สินทางปัญญา' ที่เข้ามาชี้แจงตอบข้อสงสัยเรื่องดังกล่าว
thamrat_P 22 ม.ค. 59
เวลา 16:24:00 IP = 101.108.110.166
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 3
|
|
|
เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 พนักงานอัยการจังหวัดระยอง
. โจทก์ / นางสุรินทร์ คำพวง
จำเลย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
- โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง กำลังใจที่เธอไม่รู้ อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 30, 31, 69, 70, 75, 76 ริบโทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี และให้แผ่นซีดีเพลงจำนวน 19 แผ่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ --------------------
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ --------------------- โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน... ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน เพื่อหากำไร ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง กำลังใจที่เธอไม่รู้ อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
thamrat_P 22 ม.ค. 59
เวลา 16:25:00 IP = 101.108.110.166
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 4
|
|
|
ลิขสิทธิ์ - วิธีป้องกันตนเอง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทีมนำจับ เข้าตรวจค้นจับกุมร้านเน็ตและเกมส์
1. ท่านต้องตั้งสติให้มั่น อย่าหวั่นไหว หรือ ตื่นเต้นจนเกินไป เรียกเพื่อนๆหรือ ญาติ ให้ชวนกันมาที่ร้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี และ ติดต่อผู้รู้ หรือนักกฎหมาย ให้มาที่ร้าน หรือ โทรฯปรึกษาโดยทันที
2. อ่านเอกสารที่เจ้าหน้าที่และทีมนำจับนำมา ซึ่งจะต้องมีเอกสารดังนี้
2.1 หมายศาล ซึ่งเป็นหมายค้น ในหมายศาลจะต้องอ่านดูว่า วันที่ในหมายศาล หมดกำหนดหรือยัง (เพราะโดยปกติ ศาลจะไม่ออกหมายศาลเป็นเวลาหลายๆวัน) สถานที่ให้เข้าค้น ชื่อร้านถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ บ้านเลขที่ถูกต้องหรือตรงกับร้านเราหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ท่านปฏิเสธการเข้าตรวจค้น ถ้ายังไม่ยอมจะเข้ามาในร้าน ให้โทรศัพท์แจ้งตำรวจท้องที่ทันที
2.2 บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ,บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ,บัตรประจำตัวผู้ร ับมอบอำนาจช่วง(ถ้ามี) รูปในบัตรกับตัวจริงต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน และตรงกับที่ระบุในหมายศาล ท่านต้องยอมให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาในร้านได้ แต่เฉพาะ บุคคลที่มีรายชื่อในหมายศาลเท่านั้น
2.3 อ่านข้อกล่าวหาว่า มาค้นในเรื่องอะไร เช่นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ดูในรายละเอียดว่า ลิขสิทธิ์โปรแกรมซอฟแวร์อะไร ลิขสิทธิ์เกมส์อะไร หรือลิขสิทธิ์เพลงอะไร เพื่อที่จะทราบในขั้นต้นว่า เรามีโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์อะไร ที่เขาจะตรวจค้นเราหรือไม่
2.4 ดูการมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ การมอบอำนาจช่วง ต้องไม่ขาดตอน ถ้าขาดตอนการมอบอำนาจก็ไม่ถูกต้อง การค้นตามหมายศาลก็ไม่ถูกต้อง ท่านมีสิทธิที่ไม่ยอมให้ตรวจค้นได้
3. หลังการตรวจค้น ไม่ว่าจะพบ หรือ ไม่พบการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรเซ็นชื่อในเอกสารใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งให้ท่าน ไม่ว่าจะเซ็นรับทราบ หรือ เซ็นยอมรับข้อกล่าวหา หรือเซ็นเพื่อยอมรับว่าไม่มีความเสียหายใดในการตรวจค้นครั้งนี้ ก็ตาม ควรที่จะปรึกษาผู้รู้หรือนักกฎหมายเสียก่อน
4. ในกรณีไม่มีหมายค้น โดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และ / หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งความไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้แล้ว ท่านมีสิทธิ์ปฏิเสธการตรวจค้นได้ทันที เพราะกฎหมายข้อนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีความเห็นว่ากระทำไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้ โดยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของสำนักงานกฤษฏีกา เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖ มีใจความว่า การตรวจค้นจับกุมดังกล่าว ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีค ำสั่งหรือหมายของศาล เนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับไ ด้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ นอกจากนั้น พล.ต,ท.วันชัย ศรีนวลนัด ผู้ช่วยอธิบดีตำรวจ ก็ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องความผิดซึ่งหน้านี้ไว้แล้ว ปรากฎอยู่ในเวปไซท์ของกรมตำรวจ และเวปไซท์ http://www.vrgodgame.com/ans/wanchai.html (พิมพ์เอกสารออกมาเก็บไว้) ซึ่งท่านสามารถนำไปอ้างอิง และโต้แย้งกับผู้ที่มาตรวจค้นจับกุมได้
5. ในกรณีที่มีการพบการละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
5.1 กรณีที่ท่านมีเจตนาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ก็ควรเจรจากับตัวแทนหรือ ผู้รับมอบอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์ (อย่าใช้ภาษากฎหมาย) โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไม่จำต้องยินยอมในวันที่ถูกจับ (ถ้าหากท่านสามารถประกันตัวในวันที่ถูกจับได้) อาจจะยินยอมในวันต่อๆมา หรือ อาจเปลี่ยนเป็นสู้คดีก็ได้
5.2 กรณีที่ท่านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ท่านต้องเตรียมประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
6. การประกันตัว
6.1 ปกติการประกันตัวหรือ ปล่อยชั่วคราว เป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่จะกำหนดวงเงินประกันตัว ในกรณีการจับกุมร้านเน็ตและเกมส์ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ผ่านมา มักจะกำหนดในวงเงิน 50,000 บาท ถึง 200,000 บาท แต่ปัจจุบันนี้ ผบ.ตร.ได้มีหนังสือกำชับหน่วยงานของตำรวจ ให้ปฏิบัติตามเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยได้ ให้กำหนดจำนวนเงินในการประกันตัวผู้ต้องหาด้วยเงินสด จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งปรากฎอยู่ในเวปไซท์ของตำรวจคือ http://www.special2.thaigov.net/newspol2.htm (พิมพ์ออกมาเก็บไว้ด้วย) ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน กำหนดเงินประกันเป็นเงินสด สูงกว่า 50,000 บาท ท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามและขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผบ.ตร.
6.2 การประกันตัวนี้หากท่านไม่สามารถหาบุคคล หรือเงินสดมาค้ำประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวได้ ท่านสามารถซื้อประกันอิสรภาพได้ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ซึ่งจะทำให้ท่านพ้นจากการเรียกเงินประกันจำนวนมาก เพื่อบีบให้ยอมความโดยที่ท่านไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย รายละเอียดตามเวปไซท์ด้านล่างนี้ (จดหมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วยเพื่อจำเป็นต้องใช้ในยามจำเป็น) http://www.viriyah.co.th/customer/cust_product_misc_freedom.asp
7.ว่าถ้ามีอยู่ในเครื่องคอมของเจ้าของร้านทำไมถึงผิด และเก็บไว้อย่างดีลูกค้าไม่มีทางหาเจอเป็นต้น และแม้จะมีอยู่ในเครื่องลูกค้า ก็เป็นเรื่องที่ลูกค้าโหลดไว้ มิใช่เจ้าของร้านโหลดไว้ และทราบได้อย่างไรว่าเจ้าของร้านโหลดไว้ อันนี้เป็นข้อต่อสู้คดีนะครับ
8.ถ้าตำรวจผู้นั้นไม่ยอมรับฟัง หรือบอกว่าหัวหมอ ก็ใช้ไม้ตายสุดท้ายคือสับสวิทย์ไฟลงทันที และถ้าตำรวจบอกว่าต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ฯลฯ ก็รีบให้ตำรวจแจ้งข้อหาและจับกุมเลยครับ (เพราะมันไม่ผิดข้อหานี้เพราะตำรวจถ้าไม่มีหมายศาลแล ้ว เมื่อปิดร้าน ไม่มีอำนาจค้นแล้วครับ) เมื่อไม่มีอำนาจย่อมไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐาน ต่อสู้หรือขัดขวางฯลฯ ถ้าถูกตำรวจถูกจับ คนที่จะซวย(ติดคุก)ก็คือตำรวจครับ
9.เมื่อร้านเกมส์เป็นที่รโหฐานแล้ว หากแม้ตอนเข้ามาจะไม่ผิดบุกรุก แต่เมื่อเจ้าของสถานที่บอกให้ออกไป ย่อมต้องออกไปนะครับ ถ้าไม่ออกผิดบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 364,365 แล้วแต่กรณี
10 ส่วนคาถา หรือ วิธีการโต้ตอบกลับ กลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ มีวิธีการที่เพิ่มเติมจากนี้ แต่ต้องสอบถามเป็นการส่วนตัวครับ "
ข้อ 8-10 ลอกมาจากคุณ karasu อ้างอิงจาก http://www.internetcafe.in.th/showthread.php?t=46
thamrat_P 22 ม.ค. 59
เวลา 16:28:00 IP = 101.108.110.166
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 5
|
|
|
ขอบคุณที่ให้ความกระจ่าง แล้วนักดนตรีอาชีพต้องจะทำอย่างไร จะติดต่อใคร ถ้าเป็นเพลงของต่างประเทศ
billy 22 ม.ค. 59
เวลา 16:43:00 IP = 203.156.162.177
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 6
|
|
|
ไม่เคยได้ยินว่า ในเมืองไทย มีการจับร้าน หรือ ฟ้องร้อง เกี่ยวกับการนำเพลง ฝรั่งมา ร้อง ในร้านอาหาร ... .. ครับ
thamrat_P 22 ม.ค. 59
เวลา 20:56:00 IP = 101.108.110.166
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำตอบที่ 7
|
|
|
เ เ จ่ ม ม า ก ค รั บ อ า จ า ร ย์
เล่นลาน รวงข้าว ต่อไป อิอิ
sitth
25 ม.ค. 59
เวลา 10:00:00 IP = 134.196.169.84
|
|
|
|
|
|
|